กฎหมาย GPS

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย GPS

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนล้วนมี กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง บางครั้งหลายคนอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่ามีกฎหมายชนิดใดเกี่ยวข้องกับเราบ้าง เพราะบางท่านอาจจะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์จากองค์กรของรัฐ โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ที่ออกมาเว้นเสียแต่ว่าจะเกิดผลกระทบกับตัวเราเองโดยตรง โดยเฉพาะเรื่อง กฎหมาย GPS ซึ่งผู้ออกกฎหมายคือกรมการขนส่งทางบก หากมองเบื้องต้นคงไม่มีใครรู้ว่ากฎหมายตัวนี้จะบังคับใช้อย่างไร ใครเป็นผู้บังคับและปฏิบัติตรวจจับในกรณีที่ไม่มีผู้ปฏิบัติตาม หรือแม้แต่ประเภทของรถที่ต้องติดตั้งว่ารถที่เราใช้อยู่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไรเมื่อเจอด่านตรวจจราจรเรียกตรวจแล้วถามว่า “รถของคุณติดตั้ง GPS ตามที่กฎหมายกำหนดหรือยัง” โดยที่คุณไม่สามารถอ้างได้เลยว่า”ไม่รู้” หรือถ้ารู้ก็จะสามารถตอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ว่ารถของคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องติดตั้งระบบ GPS หรือติดตั้งแล้วและมีเครื่องหมายรับรองเรียบร้อยแล้ว แนวทางที่ดีที่สุดควรจะศึกษาข้อกำหนด กฎหมายดังกล่าวว่ามีข้อบังคับอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  • ประเภทของรถที่จะต้องติดตั้งระบบ GPS ได้แก่ รถบรรทุกที่มีขนาด 10ล้อขึ้นไป รถขนส่งโดยสารประจำทางในเส้นทางหมวด1, หมวด2, หมวด3, รถขนส่งโดยสารที่ไม่ประจำทาง รถตู้โดยสารสาธารณะ ยกเว้น รถที่มีลักษณะที่นั่งแบบสองแถว
  • รายงานที่กรมขนส่งทางบก จะเรียกตรวจสอบมีอะไรบ้าง

การขับรถเร็วเกินกว่าที่กำหมายกำหนด

เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกิน 2 นาที
รถบรรทุก จำกัดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตร / ชั่วโมง
รถลากจูง(รถบรรทุกลักษณะ9) จำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตร / ชั่วโมง
รถโดยสาร จำกัดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตร / ชั่วโมง
ซึ่งหากรายงานที่ส่งให้กรมขนส่งแล้วเป็นการกระทำความผิดจะตรงกับ มาตรา 111 (พ.ร.บ.การขนส่งทางบก) มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท

  • การขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนดในรอบ 24 ชั่วโมง หมายถึง การที่พนักงานขับรถสามารถขับรถได้ต่อเนื่องติดต่อกันไม่เกิน 4 ชั่วโมงและต้องหยุดพักรถและคนขับอย่างน้อย 30นาที ถึงจะสามารถขับรถต่อไปได้อีก 4 ชั่วโมง หากคนขับรถไม่หยุดพักรถตามที่กำหนดถือว่ามีความผิดหรือการหยุดพักรถและคนขับไม่ถึง 30 นาทีไม่ถือว่าเป็นการหยุดพัก ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 127 (พ.ร.บ. ขนส่งทางบก) มีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท หรืออาจจะมีการพักใบอนุญาตไม่เกิน 180วัน
  • หากตรวจพบการถอดหรือปลดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีและใช้ หรือการบิดเบือนข้อมูลบันทึกการขับขี่รถ หากตรวจพบในระหว่างการตรวจสภาพรถประจำปีเพื่อเสียภาษีทางกรมขนส่งจะพิจารณาให้ตรวจสภาพรถไม่ผ่าน หรือหากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบในขณะใช้งานบนท้องถนน ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 148 ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจจับ และปรับได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทเลยทีเดียว
  • ในขณะที่พนักงานขับรถจะเริ่มใช้รถ จะต้องมีการยืนยันตัวตน ว่าตรงกับใบอนุญาตขับขี่หรือใบขับขี่ถูกประเภทหรือไม่ หากพบว่าไม่มีการยืนยันตัวตนในการขับรถในขณะนั้น ทางผู้ตรวจการมีอำนาจในการสั่งให้มารายงานตัวหรือพักใบอนุญาตขับขี่ได้ไม่เกิน 180 วัน หรือในกรณีที่ผู้ขับขี่ในขณะนั้นอยู่ระหว่างการถูกยึดใบอนุญาตขับรถ จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดตามมาตรา 109 ผู้ประกอบการขนส่ง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะต้องโทษปรับสูงสุด 50,000 บาทเลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่า กฎหมาย GPS ฉบับนี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องแค่กรมขนส่งและผู้ขับขี่เท่านั้น หากแต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าของกิจการขนส่งด้วย ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ เพราะถ้าอ้างเหตุผลว่าไม่รู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็จะถือว่าตั้งใจทำผิดกฎหมายมีสิทธิ์โดนลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดและจากข้อกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นผู้ขับขี่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกข้อ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตนเองได้ถูกลงโทษจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพราะกฎหมายบางข้อมีโทษสูงสุดถึงจำคุก
ส่วนสาเหตุหลักที่กรมการขนส่งทางบกนำ กฎหมาย GPS มาบังคับใช้เพราะที่ผ่านมาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรถตู้โดยสารสาธารณะและรถโดยสารขนาดใหญ่ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ตามที่เคยออกข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น รถตู้โดยสารขับขี่ด้วยความเร็วสูงเพื่อทำเวลาและมีการแย่งผู้โดยสารระหว่างทาง จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันขึ้นตัวผู้โดยสารเองคือเหยื่อของการแข่งขันครั้งนี้ หลายครั้งที่ประสบอุบัติเหตุขึ้นบ่อยหรือรถโดยสารขนาดใหญ่พานักท่องเที่ยวจีนเสียหลักพลิกคว่ำทำให้เกิดความสูญเสียทั้งค่าใช้จ่ายและภาพลักษณ์ของประเทศเสียหายอย่างมาก
เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศของเรามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุการใช้รถใช้ถนนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกโดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน เช่น วันขึ้นปีใหม่ งานวันเทศกาลสงกรานต์ซึ่งทำให้คนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวง หรือตามหัวเมืองหลักในด้านอุตสาหกรรม จะมีการใช้รถเพื่อเดินทางกลับบ้านในต่างจังหวัด จะดีกว่าไหมหากรถโดยสารขนส่ง รถบรรทุกสิบล้อ ทุกคันร่วมใจกันติดตั้งระบบ GPS ตามที่ กฎหมาย GPS กำหนดเพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจในทุกการเดินทางและร่วมกันทำให้ทุกเทศกาลมีแต่ความสุข ปลอดอุบัติเหตุ ปราศจากเรื่องเศร้าอีกต่อไป สามารถติดตามบทความต่างๆเพิ่มเติมได้ ทีนี่..

More To Explore

attachedtogpa
Coldroom