เข้าโค้ง

มือใหม่ทำอย่างไรให้ เข้าโค้งได้ปลอดภัย

หากพูดถึงการขับขี่รถในปัจจุบันแล้ว หลาย ๆ คนคงประสบปัญหาเรื่องการ เข้าโค้ง กันแถบทุกคน ไม่ว่าจะมือเก่า มือเก๋าหรือมือใหม่ก็ตามที หากเป็นโค้งบนถนนที่ผู้ขับขี่ไม่คุ้นชินแล้วล่ะก็ สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุมามากมายแล้วจากบาดเจ็บเล็กน้อยจนกระทั่งทรัพย์สินเสียหายและเสียชีวิต หากทุกคนไม่ประมาทในการใช้รถใช้ถนนและหมั่นตรวจสภาพรถของตนเองอยู่เสมอ ๆ ทั้งในเรื่องของยางรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนนโดยตรง ระบบเบรกของรถและระบบบังคับเลี้ยว สภาพของผู้ขับขี่ รวมถึงสภาพอากาศและป้ายเตือนสัญญาณจราจรในขณะนั้น เช่น ฝนตก มีน้ำขัง ป้านเตือนระวังโค้งอันตราย ป้ายกำหนดความเร็วหรือป้ายห้ามแซงในทางโค้ง รายละเอียดเหล่านี้ที่ผู้ขับขี่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมันสามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้ขับขี่และเพื่อนร่วมทางได้ แค่ไม่ประมาทในการใช้รถใช้ถนนแค่นั้นเอง

แต่เมื่อในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นต้องใช้รถใช้ถนนอยู่ตลอดเวลา ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสภาพรถ เส้นทางที่จะไป เช่นภาคเหนือ ที่ภูมิประเทศมีแต่ภูเขาทำให้ถนนมีความคดเคี้ยวเป็นอย่างมาก ทั้งการ เข้าโค้ง ลงเนินและขึ้นเนินเขา ตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และสภาพอากาศในวันเดินทางว่าจะมีฝนระหว่างทางที่ไปหรือไม่ เมื่อสำรวจข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็มาตรวจสอบสภาพจริงก่อนวันเดินทางกันมีอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบสภาพยางรถ

สิ่งแรกที่จะต้องทำการตรวจสอบคือ ยางรถยนต์ เพราะยางรถยนต์มีหน้าที่ยึดเกาะถนนไม่ให้ออกนอกทาง โดยเฉพาะยางที่มีประสิทธิภาพในการรีดน้ำบนถนน

  • ให้ตรวจสอบอายุของยางรถ ยางรถยนต์ที่ใช้หมดอายุแล้วหรือยัง ซึ่งโดยส่วนมากจะมีอายุ 3 ปี โดยประมาณ สามารถตรวจสอบโดยหา Code บนขอบยางซึ่งจะเป็นตัวเลข 4 หลัก ยกตัวอย่างเช่น (5018) หมายถึงผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 50 ของปี 2018 ทั้งนี้สามารถใช้วิธีนี้เลือกซื้อยางรถยนต์เวลาที่จะเปลี่ยนใหม่ได้เพื่อเลือกยางที่ใหม่ที่สุด
  • ตรวจสอบสภาพยาง เมื่อยางรถใช้ได้สักระยะหนึ่งก็จะเกิดการสึกหล่อของยางรวมถึงการสึกหล่อจากสภาพอากาศ โดยดอกยางควรเหลือมากกว่า 4 ม.ม. และเนื้อยางไม่แข็งกระด้างและแตกลาย ทดสอบโดยใช้เล็บกดลงไปที่ยาง หากกดไม่ลงเป็นรอยเล็บ ถือว่ายางหมดสภาพหรือที่ผิวยางมีรอยแยกรอยแตกลาย ให้ทำการเปลี่ยนโดยทันที
  • แรงดันลมยาง ในการเดินทางจะต้องคอยตรวจสอบลมยางรถอยู่เสมอ เพราะมีผลต่อสมรรถภาพของรถยนต์รวมถึงการประหยัดน้ำมันอีกด้วย หากลมยางอ่อนเกินไปจะรู้สึกถึงความนุ่ม แต่เครื่องยนต์จะทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง หากใช้งานไปนานยางจะสะสมความร้อนเพราะมีการสัมผัสผิวถนนกับหน้ายางมากเกินไปสามารถทำให้ยางระเบิดได้และถ้าหากลมดันยางแข็งเดินไปก็จะทำให้การยึดเกาะถนนไม่มีประสิทธิภาพ ควรเติมลมยางให้เหมาะกับสภาพการใช้งานหรือตามคำแนะนำของรถที่ติดมาขอบประตูรถยนต์ด้านคนขับ

2. ระบบเบรก

ในทุกสภาพถนนระบบเบรกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะสามารถช่วยชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ได้ หากแต่จำเป็นที่จะตรวจสอบและใช้ให้ถูกวิธี เพียงเท่านี้ก็สร้างความมั่นใจให้ผู้ขับขี่ได้แล้ว ด้วยระบบเบรกที่ผิดปกติจะต้องเข้ารับการตรวจสอบ คือ เมื่อเบรกแล้วมีเสียงดังหรือเริ่มออกอาการเบรกไม่อยู่ เนื่องจากผ้าเบรกเกิดความสึกหลอเป็นอย่างมาก จึงสมควรเข้ารับการตรวจสอบและเปลี่ยนผ้าเบรก โดยที่ช่างจะทำการตรวจสอบน้ำมันเบรก หม้อลมเบรกอีกด้วย หากรถที่ใช้ผ่านการขับลุยน้ำที่ท่วมขังบ่อย ๆ ก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจสอบด้วยเพราะบางทีอาจทำให้เวลาที่ต้องเบรกฉุกเฉิน ไม่สามารถที่เบรกให้อยู่และลื่นไถลออกนอกถนน โดยเฉพาะเวลา เข้าโค้ง แล้วจะทำให้รถเสียการทรงตัวแหกโค้งออกก็เป็นได

3. ระบบบังคับเลี้ยวและการเร่งเครื่องยนต์

ระบบบังคับเลี้ยวและการเร่งเครื่องยนต์ ทำไมต้องสนใจ เพราะเมื่อถึงทางโค้งแล้วไม่สามารถบังคับให้รถเลี้ยวไปตามทางที่กำหนดได้ สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ เพราะระบบบังคับเลี้ยวมีอาการผิดปกติ เช่น ลูกหมากหลุด น้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัยรั่ว สาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้ไม่สามารถบังคับให้รถเลี้ยวไปในทางที่ต้องการได้ รวมถึงการเร่งเครื่องในขณะเข้าโค้ง จริงอยู่เมื่อการเลี้ยวโค้งจะต้องชะลอความเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นที่จะต้องเร่งเครื่องเพื่อรักษาระดับความเร็วให้รถยังคงยึดเกาะถนนอยู่พร้อม ๆ กับประคองพวงมาลัยให้แน่น ไม่หมุนตามแรงเหวี่ยงของรถ

4. การใส่ใจในป้ายสัญญาณเตือน

บนถนนต่าง ๆ ในประเทศจะมีป้ายสัญญาณจราจรคอยบอกและเตือนให้ผู้ขับขี่คอยระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นป้ายแสดงถึงแหล่งชุมชน ให้ลดความเร็วหรือขับรถด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนดจากป้าย ป้ายห้ามแซงหรือป้ายระวังทางโค้งอันตราย เพราะนอกจากสภาพรถแล้วสิ่งรอบตัวเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อผู้ขับขี่รถเดินทางไปในเส้นทางที่ไม่เคยไปมาก่อนหรือไม่ชำนาญทาง โดยเฉพาะเส้นทางที่เป็นภูเขาที่ในแต่ละปีจะมีข่าวเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง เพราะคนขับไม่ชำนาญทางจึงทำให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก บางป้ายแจ้งเตือนห้ามแซงในทางโค้งก็มีรถหลายคันที่ฝ่าฝืนขับแซงไปเมื่อเป็นทางโค้งก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นรถที่สวนมาทางข้างหน้า ทำให้เกิดการเชี่ยวชนและบางรายอาจลื่นไถลออกนอกถนนตกลงข้างทาง ทำให้บาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มี

5. เทคนิคการวางตำแหน่งรถให้ถูกต้อง

มือใหม่หลายคนคงยังไม่รู้เรื่องการวางตำแหน่งรถในขณะเลี้ยวโค้ง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นต้องรู้ เพราะนอกจากขณะที่รถวิ่งเลี้ยงโค้งอยู่นั้น จะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ตามหลักฟิสิกส์ ทำให้คนขับรถต้องชะลอความเร็วในการแตะเบรกและเร่งเครื่องให้อยู่ในระดับที่ให้รถสามารถเกาะโค้งไปได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้รถหลุดออกโค้งก็เป็นได้ ตำแหน่งรถขณะจะเข้าโค้งหากเลี้ยวโค้งซ้าย ตำแหน่งรถควรอยู่ชิดขวา เพื่อลดแรงเหวี่ยงในการเข้าโค้งเมื่อบังคับพวงมาลัย เพราะถ้าหักมากไปก็จะทำให้รถพลิกคว่ำได้ ซึ่งเทคนิคตรงนี้ต้องเกิดจากการฝึกฝนให้ชำนาญ แต่ควรฝึกในเส้นทางที่ไม่มีรถวิ่งและใช้ความเร็วจากระดับต่ำไปก่อน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

จะเห็นว่าแค่การขับรถ เข้าโค้ง แม้ดูจะไม่เป็นเรื่องยากอะไรมาก แต่ก็ไม่ง่ายนักเพราะต้องอาศัยทักษะและความสามารถของผู้ขับขี่ รวมถึงสภาพความพร้อมของตัวรถเองที่มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว หากผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็หมายถึงการเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้

จะดีกว่าไหมหากมือใหม่หลาย ๆ คนทำการศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับรถและฝึกฝนทักษะการขับรถให้เป็น ศึกษาเส้นทางที่จะเดินทางให้ดีก่อนที่จะเริ่มเดินทาง ดีกว่าไปแล้วไม่พร้อมทำให้เกิดอุบัติเหตุให้เสียใจภายหลังได้

More To Explore

GPS Tracking คือ