วิธีป้องกันบัตรเครดิตจากการถูกโจรกรรม

ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ใช้เงินอิเล็กทรอนิคส์แทนเงินสดมากขึ้น และจริงอยู่ที่การใช้เงินอิเล็กทรอนิคส์จะลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องพกเงินสด แต่นั่นก็หมายได้หมายความว่าจะปลอดภัย 100% เพราะมิจฉาชีพทุกวันนี้ค่อนข้างฉลาดเอาเรื่องเลยทีเดียว ถึงแม้จะไม่มีเงินสดให้โจรกรรม แต่พวกมันก็สามารถหาวิธีอื่นได้อยู่ดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัตรเครดิตที่สามารถใช้รูดซื้อนั่นนี่ได้เพียงชั่วอึดใจ และมักต้องบอกรหัสบัตรให้อีกฝ่ายรู้ ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมได้ง่ายถ้าไม่ระมัดระวัง และถ้าคนร้ายนำบัตรของคุณไปรูด หรือนำข้อมูลไปทำธุรกรรมต่างๆละก็ คุณจะต้องเดือดร้อนทีหลังกับหนี้ที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ

เพราะฉะนั้น มาดูวิธีป้องกันไม่ให้บัตรเครดิตถูกโจรกรรมกัน

 

  • เก็บบัตรเครดิตให้มิดชิดในกระเป๋าสตางค์ เวลาจะพกบัตรเครดิตไปไหนมาไหน ควรเก็บให้มิดชิด โดยอยู่ในกระเป๋าสตางค์ หรือกระเป๋าสำหรับเก็บบัตรโดยเฉพาะจะดีที่สุด ไม่ควรใส่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง หรือที่ๆจะหล่นได้ง่าย ถึงแม้ว่าการขโมยบัตรเครดิตของผู้อื่นไปรูดจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้รูดต้องเซ็นชื่อ และบางครั้งผู้ให้บริการอาจตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้รูดกับชื่อเจ้าของบัตรนั้นไม่ตรงกัน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะบางครั้งผู้ให้บริการก็หละหลวม ทำให้ไม่รู้ว่าคนที่นำบัตรมารูดที่ร้านนั้นมีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ดังนั้นเจ้าของบ้านควรระวังด้วยตัวเองจะดีที่สุด
  • กรณีซื้อของออนไลน์ ควรเลือกร้านค้าที่ไว้ใจได้เท่านั้น  ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรก็ซื้อมันไปหมดทุกอย่าง ซื้อแบบไม่เลือกร้าน ไม่เช็คเครดิตหรือประวัติของร้านให้ดี เพราะว่าในการซื้อของออนไลน์ คุณต้องบอกรหัสบัตรกับผู้ขายไป ดังนั้นถ้าบังเอิญโชคร้ายเจอมิจฉาชีพเข้าล่ะก็ คุณอาจได้หนี้ก้อนโตมาแบบไม่รู้ตัวก็ได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อจากร้านค้าใหญ่ๆ หรือร้านที่เห็นรีวิวของลูกค้าชัดเจน ร้านที่มีการยืนยันตนชัดเจน
  • อย่าเที่ยวอวดใครว่าคุณมีบัตรเครดิต ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยสักนิดเดียวที่จะต้องอวดว่าคุณมีบัตรเครดิต ยิ่งถ้าอวดว่าวงเงินสูง หรืออวดทำนองว่าอยากได้อะไรก็แค่รูดๆๆแล้วคุณก็ได้มาดั่งใจทุกอย่าง แบบนั้นยิ่งอันตราย เพราะจะเป็นการล่อตาล่อใจผู้ไม่หวังดีให้หาทางเข้ามาโจรกรรมคุณได้ เพราะฉะนั้นอย่าเที่ยวไปคุยโว อย่าแชะรูปแล้วแชร์อวดลงโซเชียล หรือทำอะไรเพื่อเป็นการอวดให้คนอื่นรู้ว่ามีบัตรเครดิต อยู่เงียบๆ แล้วใช้แบบเงียบๆ จะปลอดภัยกว่า
  • ดู URL ของเว็บไซต์ที่จะซื้อของ บางคนอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆสำคัญมาก โดยก่อนจะคลิ้กเข้าไปซื้อของที่เว็บไซต์สักเว็บ ควรดูด้วยว่า URL ของเว็บไซต์นั้นมี http ขึ้นต้นหรือไม่ เพราะ http นี้จะมีระบบความปลอดภัยเพื่อการทำธุรกรรมออนไลน์ ทำให้อุ่นใจได้เปราะหนึ่งว่าคุณจะไม่ถูกโจรกรรมข้อมูลได้ง่ายๆ ดังนั้นถ้าเว็บไซต์ไหนไม่มี http ละก็ ขอให้เลี่ยงจะดีกว่า
  • จดรหัส CVV แยกเอาไว้ ที่หลังบัตรเครดิตจะมีรหัส CVV อยู่ CVV คืออะไร? CVV เป็นรหัส 3 หลักเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตร ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีนำบัตรไปใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้ตามใจชอบ โดยเวลาจะกรอกข้อมูลบัตรเพื่อซื้อสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต จะต้องกรอกรหัส CVV ด้วย ซึ่งถ้าคุณเลือกร้านค้าที่ไว้ใจได้ และเก็บบัตรเครดิตไว้กับตัวดีๆก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากคุณเก็บไม่ดี ทำบัตรหาย และมีคนขโมยบัตรของคุณไป เขาก็สามารถเอาทั้งรหัสบัตรและรหัส CVV ไปทำธุรกรรมออนไลน์ได้ สุดท้ายคุณก็ต้องมาทนรับมือกับหนี้สินที่ตามมา(เห็นได้ชัดว่าถึงแม้อาจจะขโมยไปรูดซื้อแบบออฟไลน์ได้ยาก แต่ถ้าเป็นแบบออนไลน์แล้วละก็ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วจริงๆ)

อย่างไรก็ตาม ถึงจะเก็บบัตรไว้กับตัวดีแล้ว ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป คุณควรจดรหัส CVV แยกไว้ต่างหาก จดไว้ในโทรศัพท์จะดีที่สุด จากนั้นขีดฆ่ารหัส CVV บนบัตรด้วยปากกาชนิดลบไม่ออก หรือขูดทิ้งไปเลยก็ได้ เพียงเท่านี้ก็ไม่มีใครนำบัตรคุณไปใช้ตามอำเภอใจได้อีกแล้ว แต่ดีที่สุดคือพยายามอย่าให้บัตรหาย

  • อย่าฝากบัตรเครดิตไว้กับใคร “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน” บัตรเครดิรของคุณเองก็ควรเก็บเองดูแลเอง อย่าเอาไปฝากไว้กับใครเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นคนที่สนิทด้วยมากแค่ไหน เรื่องเงินเรื่องทองไม่เข้าใครออกใคร อย่าประมาทเด็ดขาด
  • อย่าหลงเชื่อข้อความและอีเมล์สแปมต่างๆ เป็นอีกเรื่องที่พบได้บ่อย กับการที่บางครั้งจะมีอีเมล์หรือข้อความแปลกๆส่งเข้ามา แกล้งหลอกให้คุณบอกเลขรหัสนั่นนี่ โดยอ้างว่าจะนำไปตรวจสอบระบบ หรือถ้าไม่ทำแล้วจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งผู้บริโภคหลายคนก็หลงกลไปเพราะกลัว อย่าได้กลัวและอย่าได้เชื่อเด็ดขาด ถึงแม้ว่าอีเมล์หรือข้อความที่ส่งมาจะอ้างตัวว่าเป็นบริษัทชื่อดังก็ตาม เมื่อคุณได้รับอะไรลักษณะนี้ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือไปติดต่อสอบถามกับบริษัทนั้นๆโดยตรงก่อน ถ้าทางบริษัทยืนยันว่าไม่มีนโยบายส่งอีเมล์หรือข้อความหาลูกค้าแบบที่เห็น ก็ให้รู้ได้เลยว่าเป็นฝีมือมิจฉาชีพแน่นอน สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore

GPS Tracking คือ