ดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารไหน ให้ดอกเบี้ยสูงสุด

เงินฝากประจำ คือการออมเงินตามกำหนดเวลาโดยที่ไม่มีการเบิกถอนจนกว่าจะครบระยะตามที่กำหนดและจะได้ผลตอบแทนเป็น ดอกเบี้ยฝากประจำ ที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติ สามารถเปิดบัญชีเงินฝากประจำได้ทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เงินฝากประจำที่จะพูดถึงในบทความนี้มี 2 ประเภท คือ

  • เงินฝากประจำแบบเสียภาษี
  • เงินฝากประจำปลอดภาษี

เงินฝากประจำแบบเสียภาษี

ถือเป็นโอกาสในการออมเงินที่มีเงื่อนไขว่าต้องออมทุกเดือนฝากเท่าไหร่ก็ได้แต่ต้องมากกว่าขั้นต่ำที่แต่ละธนาคารกำหนด ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 1,000 บาท มีบางธนาคารที่เริ่มต้น 500 บาท ตามระยะเวลาที่กำหนดให้เลือกตามความเหมาะสมเริ่มจาก 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน 24 เดือน และ 36 เดือน โดยมีข้อกำหนดว่าต้องทิ้งเงินจำนวนนี้ไว้ในบัญชีตามระยะเวลาที่เราเลือกเมื่อทิ้งไว้ครบกำหนดก็จะได้รับ ดอกเบี้ยฝากประจำ และสามารถถอนเงินออกมาได้ ซึ่งเงินฝากประจำประเภทนี้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ

เงินฝากประจำปลอดภาษี

เงินฝากชนิดนี้เป็นการฝากเข้าบัญชีด้วยจำนวนเท่าเดิมทุกเดือน ฝากได้สูงสุดไม่เกินเดือนละ 16,000 บาทสำหรับฝาก 36 เดือน ไม่เกินเดือนละ 25,000 ระยะเวลา 24 เดือนขึ้นไป ฝากทุกเดือนจนครบตามกำหนดเงื่อนไขของทางธนาคารเมื่อครบกำหนดก็จะได้รับ ดอกเบี้ยฝากประจำ โดยไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15 % เพราะรัฐบาลกำหนดไว้ว่า หากฝากประจำเท่ากันทุกเดือนเกิน 24 เดือนขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่ง 1 เลขประจำตัวประชาชน เปิดบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีได้ 1 บัญชีต่อครั้งเท่านั้น ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเพียงข้อเดียวที่บัญชีเงินฝากประจำจะได้รับการยกเว้นภาษีนั่นคือต้องเป็นการฝากเท่ากันทุกเดือนเกิน 24 เดือนขึ้นไป

เงินฝากประจำมีวิธีการคิด ดอกเบี้ยฝากประจำ อย่างไร

หลักการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากประจำมีวิธีการคิดดังนี้

ดอกเบี้ยที่ได้รับ = เงินต้น x (อัตราดอกเบี้ย/100) x (ระยะเวลาที่ฝากจริง/365)

ซึ่งแต่ละเดือนจะได้ ดอกเบี้ยฝากประจำ ไม่เท่ากันเดือนแรกๆ ที่ฝากจะได้ดอกเบี้ยที่มากกว่างวดท้ายๆ เพราะธนาคารจะมีการคิดดอกเบี้ยให้กับเงินฝากตามระยะเวลาที่ฝากไว้กับธนาคารโดยมีหลักการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละงวดดังนี้

(เงินฝากงวดที่ 1 × อัตราดอกเบี้ย × จำนวนวัน) / 365 + (เงินฝากงวดที่ 2 × อัตราดอกเบี้ย × จำนวนวัน) / 365 + … + (เงินฝากงวดสุดท้าย × อัตราดอกเบี้ย × จำนวนวัน) / 365

ตัวอย่างเช่น เราฝากประจำ 3 เดือน เดือนละ 1,000 บาท

โดยฝากยอด 1,000 บาท ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน สมมติว่าอัตราดอกเบี้ยบนเว็บไซต์ของธนาคาร Z ได้แก่ 0.65%

ฝากเงินเดือนที่ 1 ดอกเบี้ยเราจะได้คิดเป็น (1,000 × 0.65% × 90) / 365 = 1.63

ฝากเงินเดือนที่ 2 ดอกเบี้ยเราจะได้คิดเป็น (1,000 × 0.65% × 60) / 365 = 1.08

ฝากเงินเดือนที่ 3 ดอกเบี้ยเราจะได้คิดเป็น (1,000 × 0.65% × 30) / 365 = 0.54

ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จะได้รับทั้งหมด 1.63 + 1.08 + 0.54 = 3.25 บาท (3 บาท)

หลังจากนั้น เรานำดอกเบี้ยที่ได้รับมาคำนวณต่อ คือ (จำนวนดอกเบี้ยที่จะได้รับทั้งหมด × 365 × 100) / (จำนวนวัน × จำนวนเงินฝากทั้งหมด) นั่นหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่จะได้รับ ได้แก่ (3.25 × 365 × 100) / (90 × 3,000) = 0.43%

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าปิดบัญชีเงินฝากประจำก่อนกำหนด

บัญชีเงินฝากประจำแม้จะมีเงื่อนไขว่าต้องฝากให้ครบกำหนดก่อนถึงจะปิดได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดบัญชีก่อนครบกำหนดไม่ได้ เรายังสามารถเบิกถอนได้แต่ดอกเบี้ยที่จะได้รับก็จะน้อยกว่าที่กำหนดตอนแรก บางธนาคารก็จะให้ดอกเบี้ยเงินฝากเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ปกติไปไม่ได้รับ ดอกเบี้ยฝากประจำ เพราะเราผิดเงื่อนไขการฝากประจำก่อน และถ้าเป็นเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีหากฝากไม่ครบสัญญาเช่นฝากไม่ครบ 24 เดือน หรือ 36 เดือนก็จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย หมายความว่าเราต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับนั่นเอง

หากในภายหลังเราต้องการเพิ่มจำนวนเงินต้นในบัญชีเงินฝากประจำแบบทิ้งไว้ชั่วระยะเวลาทำได้หรือไม่

กรณีนี้ไม่สามารถทำได้ เริ่มฝากด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ต้องฝากเป็นจำนวนเท่าเดิม และต้องทิ้งเงินจำนวนดังกล่าวไว้ในบัญชีฝากประจำจนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญาไม่สามารถเพิ่มยอดเงินในภายหลังได้

ประโยชน์ของการเปิดบัญชีเงินฝากประจำ

เมื่อมีบัญชีเงินฝากประจำ ไม่ว่าจะเป็นประเภทฝากประจำทุก ๆ เดือน หรือฝากทิ้งไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เรามีการออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยสร้างวินัยการออมเงินและช่วยวางแผนการเงินของเราได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากเราจะได้รับดอกเบี้ยสูงแล้ว เรายังสามารถใช้เงินในบัญชีเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อต่าง ๆ จากธนาคารได้อีกด้วย

ข้อดีของการเปรียบเทียบบัญชีเงินฝากก่อนเปิดบัญชีเงินฝากประจำ

การเปิดบัญชีเงินฝากประจำนั้นหลายคนคิดว่าเปิดบัญชีกับธนาคารไหนก็ได้เพราะแต่ละธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยไม่ต่างกัน ซึ่งความจริงแล้วการเปรียบเทียบเป็นสิ่งจำเป็นเพราะนอกจากเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ยังมีเรื่องโปรโมชั่น การบริการ ความน่าเชื่อถือและอีกหลาย ๆ เรื่องที่เราอาจจะมองข้าม โดยเฉพาะในเรื่องของดอกเบี้ยหากมองอย่างผิวเผินอาจคิดว่าไม่ต่างกันมากแต่เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่งอกเงยจากการออมที่มากขึ้นก็ต่างกันมากพอสมควร ดังนั้นก่อนจะเปิดบัญชีเงินฝากประจำแต่ละครั้งควรพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย

More To Explore

กล้อง จี พี เอ ส