ในห้องเรียนปัจจุบันนี้ ทั้งระดับปฐมและมัธยมศึกษาน่าจะพอมีให้เห็นแผนที่ทางภูมิศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงเส้นทางถนน ทางรถไฟ เขตแดนภูเขาและแม่น้ำที่มีสีสันแตกต่างกันไป หลายคนคงเคยเห็นคงมีคนเข้าใจบ้างและไม่เข้าใจบ้าง แต่จะมีใครรู้บ้างไหมว่ารูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ที่เห็นกันมันเป็นภาพถ่ายทางดาวเทียมที่แสดงให้เห็นภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานในการถ่ายรูปทางดาวเทียมมากขึ้น ทำให้ระบบแผนที่ดูสมจริงยิ่งขึ้นนั่นคือระบบ Geographic Information System หรือ GIS ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะให้ภาพที่สวยงามสีสันที่สดใสและสมจริงมากกว่าแผนที่ระบบเดิม ซึ่ง สีในแผนที่ ที่แสดงออกมาทางภาพถ่ายจะมีความหมายที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบได้ดังนี้
สีที่ใช้จำแนกผังเมืองต่าง เช่น
- สีเหลือง คือ ที่ดินที่มีที่อยู่อาศัยหนาแน่นเล็กน้อย
- สีแดง คือ ที่ดินที่อยู่ในโซนพานิชยกรรมและที่พักอาศัยหนาแน่นในปริมาณที่มาก
- สีเขียว คือ บริเวณที่ดินที่เป็นชนบทและทำเกษตรกรรม
- สีน้ำเงิน คือ ที่ดินสำหรับสาธารณูปโภค
สีที่บ่งบอกประเภทของพื้นดิน
ซึ่งพื้นดินจะถูกแบ่งออกเป็น 5ตามระดับความสูงชัน
- สีขาว หมายถึงบริเวณที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี
- สีน้ำตาล หมายถึงบริเวณที่เป็นภูเขาที่สูงมาก
- สีเหลืองแก่ หมายถึง บริเวณที่แสดงถึงภูเขาที่สูง
- สีเหลือง หมายถึง บริเวณที่แสดงให้เห็นถึงเนินเขาไปจนถึงที่สูง
- สีเขียว หมายถึง ที่ราบต่ำในเขตเมืองหรือเกษตรกรรม มีต้นไม้ที่เยอะมากมาย
สีที่บ่งบอกถึงพื้นน้ำ
เป็นสีที่ดูง่ายมากที่สุด เพราะในแผนที่จะมีสีฟ้ามากที่สุดและมีการไล่ระดับของโทนสีจากอ่อนไปหาเข้มคือการบ่งบอกถึงความลึก-ตื้นของแม่น้ำและทะเลนั้น
- สีน้ำเงินเข้ม บ่งบอกถึงระดับความลึกของทะเลหรือมหาสมุทรที่บริเวณนั้นมีความลึกมาก
- สีน้ำเงินธรรมดา แสดงถึงผืนน้ำที่เป็นทะเลลึกหรือมหาสมุทร
- สีฟ้าเข้ม คือบริเวณที่แสดงความลึกของอ่าวและชายทะเล
- สีฟ้า หมายถึง ผืนน้ำที่เป็นแม่น้ำ ชายทะเล ที่ลึกไม่มาก
ส่วนสีที่ใช้แทนสัญลักษณ์ในแผนที่
ประกอบไปด้วย
- สีดำ สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น บ้าน วัด ทางรถไฟ
- สีแดง คือถนนสายหลักหรือพื้นที่สำคัญและหวงห้าม
- สีน้ำเงิน หมายถึงแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล
- สีเขียว แสดงถึงบริเวณที่เป็นป่ามีต้นไม้นานาชนิด
- สีน้ำตาล หมายถึงเส้นขอบเขาที่มีความสูง
ทั้งหมดนี้เป็น สีในแผนที่ ที่บอกรายละเอียดในแผนที่ให้คนทั่วไปได้ศึกษาถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้น ๆ เป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลหากได้มีโอกาสเดินทางไปในภูมิประเทศเหล่านั้น หรือการเดินทางไปเที่ยวทางภาคเหนือของประเทศไทยก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าพื้นที่ที่ไปอยู่ในระดับความสูงแบบไหน ป่าไม้เยอะหรือไม่และอยู่ในจุดที่สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไร
เมื่อนำสีที่กล่าวมาข้างต้นทำเป็นสัญลักษณ์และแทนที่ด้วยสีต่าง ๆ ในระบบแผนที่ใน GPS ก็จะทำให้รู้ว่าสีที่อยู่ในแผนที่มีความหมายอย่างไร ซึ่งหากทำการศึกษาก็จะไม่ยากเลยที่จะอ่านค่าสีใน GPS ได้เพื่อความสะดวกในการเดินทางกับระบบ GPS มาก
- สีเขียว แสดงออกถึงความร่มรื่นของป่าไม้ เมื่ออยู่ใกล้จะทำให้รู้สึกสดชื่น เมื่อจับมาใส่ในแผนที่ระบบ GPS แล้ว สีเขียวจะแสดงถึงความโล่ง ปลอดโปร่งของการจราจร ณ บริเวณนั้น ไม่ติดขัดสามารถวิ่งทำความเร็วได้สะดวกและสามารถใช้เวลาไม่นานในการไปถึงที่หมายได้
- สีเหลือง แสดงถึงความขัดแย้งเล็กน้อย บ่งบอกถึงการจราจรบริเวณนั้น มีปัญหาแต่ไม่มากยังสามารถเคลื่อนตัวได้ มีติดขัดบ้างเล็กน้อย แต่ยังสามารถไปได้แบบช้า ๆ
- สีแดง คือความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทำให้นึกถึงสภาพการจราจรของกรุงเทพมหานครในตอนชั่วโมงเร่งด่วนที่ทุกคนต่างอยากจะไป โดยไม่คำนึงถึงสภาพการจราจรช่วงนั้นว่าไปได้หรือไม่ ทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัดหลายๆ สิบนาทีจนถึงหลายชั่วโมง
ท้ายที่สุดนอกจาก สีในแผนที่ แล้ว ยังคงมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในแผนที่ ที่ทางระบบ GPS ได้ใส่เข้ามาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการค้นหาสถานที่สำคัญๆ ที่ต้องการจะเดินทางไป เช่น รูปเครื่องหมายสภากาชาด ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด รูปเตียงนอนก็บอกถึงที่พักหรือโรงแรมในระแวกนั้น สัญลักษณ์ทางรถไฟ หมายเลขทางหลวงและเบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญๆ ที่ทำให้เจ้าของรถสะดวกต่อการใช้งาน แถมGPS ที่มีการประยุกต์ใช้กับระบบ GIS ด้วยแล้วจะสามารถทำให้การใช้ระบบแผนที่ออกมาเป็นระบบที่เจ๋งที่สุด เนื่องจาก GPS ใช้บอกพิกัดที่มีความแม่นยำ ส่วน GIS ใช้สร้างแผนที่ให้ออกมาเป็นชั้น ๆเสมือนสามมิติที่ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น
โดย สีในแผนที่ ก็จะคอยบอกว่าพื้นที่ ที่กำลังใช้งานอยู่นี้มีความสูงชันเพียงใด หากนำไปใช้งานที่วิ่งรถขึ้นผู้เขาก็จะรู้ถึงความชันของถนนอยู่ระดับใด ผู้ขับจะได้วางแผนในการขับรถไปถูกต้อง ว่าจะใช้เกียร์ต่ำในระดับไหนหรือต้องจอดแวะพักที่ใด เพื่อป้องกันจากการขับรถทางไกลแล้วเกิดอาการเหนื่อยล้า อีกทั้งสามารถที่จะบอกพิกัดของปั๊มน้ำมันว่าอยู่ห่างเพียงไรจะได้เตรียมตัวชะลอรถเพื่อที่จะเข้าใช้งานที่ปั๊ม
สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..