เมาแล้วขับ

เมาแล้วขับ จับปรับติดคุก ไม่คุ้มแน่

บรรดานักดื่มทั้งหลายคงพอจะทราบกฎหมาย เมาแล้วขับ ที่ออกมาใหม่เป็นการเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดอยู่พอสมควร แต่ด้วยนักดื่มหน้าใหม่หลายคนอาจจะไม่รู้ ซึ่งจากอดีตสถิติเมาแล้วขับทำให้คนประสบอุบัติเหตุเยอะมากเป็นอันดับ 1 ยังคงครองแชมป์มาจนถึงปัจจุบันจนทำให้มีการปรับแก้กฎหมายกันใหม่และมีการปรับลดผลการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดให้เหลือ 50mg% อีกด้วย จึงอยากขอเตือนนักดื่มทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ให้ทำความเข้าใจและศึกษาข้อกฎหมายและบทลงโทษให้ดี เพราะมิเช่นนั้นแล้วจะมาเสียใจภายหลังไม่ได้

ข้อเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่

  • กฎหมายเก่า ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท
  • กฎหมายใหม่ ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 20,000 บาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ พร้อมกับยึดรถเป็นระยะเวลา 7 วันอีกด้วย

จะเห็นได้แล้วว่ามีการเพิ่มโทษที่มากขึ้นเพื่อให้นักดื่มทั้งหลายได้ขยาดกลัวและไม่กล้าที่ เมาแล้วขับ อีกต่อไป หากแต่ใครที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ให้พิจารณาการดื่มในปริมาณที่น้อยลงเพื่อที่จะให้ร่างกายได้ขับแอลกอฮอล์ในเลือดให้ลดต่ำลง โดยสามารถที่จะเช็คและตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่มต่าง ๆ พร้อมระยะเวลาที่ร่างกายใช้ขับออกมา เพื่อให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ลดลงก่อนที่จะขับรถออกไปเจอด่านตรวจ

ปริมาณแอลกอฮอล์มาตรฐาน 1 ดื่มคืออะไร

แอลกอฮอล์มาตรฐาน 1 ดื่มคือหน่วยวัดปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่ม ที่ใช้เปรียบเทียบในเครื่องดื่มแต่ละชนิดตามความแรงของแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไป เพื่อป้องกันการดื่มที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในระหว่างทางขับรถหรือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วไปขับรถได้ ซึ่งปริมาณ 1 ดื่มมาตรฐานมีค่าเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม หรือ 12.5 มิตรลิเมตร ที่ร่างการสามารถขับแอลกอฮอลล์ออกมาได้ภายใน 1 ชั่วโมงซึ่งสามารถที่จะดื่มได้ตามเกณฑ์ดังนี้

  • วิสกี้ 1 แก้ว 30 ml. (ประมาณ 3ฝา)ขนาดดีกรี 40% = เบียร์ 1 แก้ว 300 ml.ขนาดดีกรี 5%= ไวน์ 1 แก้วขนาด 100 ml.ขนาดดีกรี 12%

ซึ่งอยากจะขอเตือนนักดื่มทั้งหลายที่ได้เห็นข้อมูลการแชร์ตามโซเชียลต่าง ๆ ถึงเครื่องดื่มที่สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายลงได้ แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย แต่สาเหตุที่ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ลดลงคือ การทิ้งช่วงเวลาให้ร่างการได้พักและตับทำงานในการขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย ที่สามารถพิสูจน์ได้ตามกระบวนวิทยาศาสตร์ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วต่อให้กินนมเปรี้ยว, ชา, กาแฟ ไปสักกี่ขวดก็ไม่สามารถสร่างเมาหรือลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงได้เลย ขับรถไปเจอด่านยังไงก็เป่าไม่ผ่านแน่นอน

ยังมีวิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายดื่มซึมแอลกอฮอล์อย่างรวดเร็วได้

  • รับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ ก่อนดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นไปที่แป้งเป็นหลัก
  • พยายามดื่มน้ำเปล่าตามมาก ๆ หลังดื่มเสร็จ เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะถ้าดื่มกาแฟไปด้วยจะทำให้ร่างกายขาดน้ำเป็นอย่างมาก
  • พยายามอย่าดื่มหลายขนาน เพราะไม่อย่างนั้นแล้วเละคาด่านตรวจแน่นอน

บทลงโทษสำหรับบุคคลที่เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางร่างกายและจิตใจ

  • มีโทษจำคุก 1-5 ปี
  • ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือ
  • หรือทั้งจำและปรับ
  • ศาลเองสามารถที่จะสั่งพักใบอนุญาตใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือเพิกถอนใบอนุญาตได้

บทลงโทษสำหรับผู้เมาแล้วยังขับรถจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส

  • มีโทษจำคุก 2-6 ปี
  • ปรับตั้งแต่ 40,000 ถึง 120,000 บาทหรือทั้งจำและปรับ
  • ศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับขี่อย่างน้อย 2 ปีหรือเพิกถอนเลยตลอดชีวิต

บทลงโทษที่เป็นสาเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิตด้วยพฤติกรรม เมาแล้วขับ แล้วล่ะก็

  • มีโทษจำคุก 3 – 10 ปี
  • ปรับตั้งแต่ 60,000 บาทถึง 200,000 บาท
  • หรือทั้งจำและปรับเลยทีเดียว
  • ท้ายสุดศาลสามารถสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ได้ตลอดชีวิต

จะเห็นได้ว่าบทลงโทษที่เพิ่มเข้ามานั้นไม่คุ้มต่อการดื่มแล้วขับแน่นอน หากใครที่รู้ตัวว่าจะต้องไปดื่มด้วยแล้วพยายามนั่งรถสาธารณะหรือแท๊กซี่ยังจะดีกว่า เพราะมีคนขับรถให้หรือให้ที่บ้านขับรถมารับกลับเท่านั้นเอง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วการดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดในปริมาณที่มากแล้วนอกจากที่เสี่ยงต่อการเจอด่านตำรวจ ยังต้องเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย เพราะหากขับขี่ไปชนจนคนอื่นได้รับบาดเจ็บจนเสียชีวิตแล้วล่ะก็ โดนจับปรับและติดคุกถึง 10 ปี รับรองไม่คุ้มแน่นอน ดีไม่ดีคุณเองอาจจะเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ก็เป็นได้ ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการดื่มได้จะดีที่สุด

สุดท้ายสำหรับใครที่ยังดื้อด้วยการ เมาแล้วขับ และประสบอุบัติเหตุไม่ว่าจะหนัก เบามากแค่ไหน และผลการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในร่างการของคุณเกิน 50mg% ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วล่ะก็ ทางประกันภัยทุกบริษัทจะไม่รับรองความคุ้มครองต่อการเกิดอุบัติเหตุของคุณทุกกรณี แต่บุคคลอื่นหรือคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ ทางประกันยังจะคงดูแลและจ่ายค่าชดเชยให้อยู่ จะเห็นได้ว่าไม่คุ้มแน่นอนที่จะเมาแล้วพยายามที่จะขับรถกลับบ้าน ทางที่ดีเรียกแท๊กซีหรือให้คนที่บ้านมารับดูแล้วยังจะปลอดภัยมากกว่าหลายเท่าตัวนัก เพื่อให้คนใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย เลิกดื่มแล้วขับดีกว่า

 

More To Explore

แก๊สโซฮอล์ E20 และ E85
จับ สัญญาณ โทรศัพท์