พรบ รถยนต์

มี พรบ. ไม่ต้องทำประกันรถยนต์ จริงหรือไม่ เรามีคำตอบ

พรบ รถยนต์ เชื่อมั่นว่า ใครที่มีรถยนต์ทุกคนต้องรู้จักคำนี้ดี เพราะมันคือสิ่งที่ต้องอยู่คู่รับรถยนต์ในทุกคัน แต่เชื่อไหมว่า บางคนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า พรบ รถยนต์ มันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และทำไมต้องมี ในขณะเดียวกัน บางท่านอาจรู้ว่า พรบ รถยนต์ คืออะไร แต่ยังคงสงสัยว่า ทำไมต้องทำประกันรถยนต์เพิ่ม ในเมื่อรถยนต์ทุกคันนั้น มีพรบ รถยนต์อยู่แล้ว ดังนั้นในวันนี้เราจึงขอนำข้อมูลให้คุณได้ทราบว่า พรบ รถยนต์ มันคืออะไร และมันแตกต่างจากประกันรถยนต์ทั่วไปอย่างไร ตามเรามาเลยครับ

พรบ รถยนต์ คืออะไร ให้ความคุ้มครองอย่างไร หากไม่ต่อจะมีอะไรเกิดขึ้น

พรบ รถยนต์ คืออะไร และย่อจากอะไร

พรบ รถยนต์ ย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย คือ ประกันภัยที่จ่ายชดเชยให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ชดเชยกรณีที่ผู้บาดเจ็บสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ และชดเชยในกรณีที่ต้องเสียชีวิต โดยเป็นประกันภัยที่กฎหมายไทยบังคับให้รถยนต์ในทุกคันต้องมี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภท ที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจำเป็นต้องทำ พรบ รถยนต์ ประเภทนี้ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่า บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ จะเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณี และผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย รวมไปถึงค่าดูแลรักษาพยาบาล ตามที่ พรบ รถยนต์ ได้กำหนดเอาไว้ ทั้งนี้ เป็นรถทุกชนิดทุกประเภทที่เดินกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เช่น รถยนต์ รถสิบล้อ รถพ่วง รถจักรยานยนต์ ต้องทำ พรบ รถยนต์ ทั้งหมด ในส่วนที่ได้รับความยกเว้นการทำ พรบ รถยนต์ รถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทน โดยรถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน จะมีเครื่องหมายตามที่พระราชวังกำหนด รวมไปถึง รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ รถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการที่องค์กรจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ

พรบ รถยนต์ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

กรณีบาดเจ็บ คุณจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง โดยค่าเสียหายในเบื้องต้นนั้น ไม่เกิน 30,000 ต่อ 1 ท่าน ในกรณีทุพพลภาพถาวร หากผู้ประสบภัยเกิดกรณีทุพพลภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อ 1 ท่าน หากมีผู้ประสบภัยเสียชีวิต จะได้รับค่าชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวนเงิน 35,000 ต่อ 1 ท่าน แต่หากเป็นกรณีบาดเจ็บ และเสียชีวิตในภายหลัง หลังจากได้รับการรักษาพยาบาล จะได้รับทั้งเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ เบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาทต่อ 1 ท่าน ยังมีเงินในส่วนชดเชยรายวัน กรณีสูญเสียรายได้ในฐานะคนไข้ ได้วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท หรือไม่เกิน 20 วัน แต่ทั้งนี้หากได้รับการพิสูจน์แล้วว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ในกรณีบาดเจ็บ คุณจะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง หรือไม่เกิน 80,000 บาท ต่อ 1 ท่าน เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 ท่าน กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ได้รับสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 ท่าน ในส่วนเรื่องเงินชดเชยรายวัน กรณีที่ต้องสูญเสียรายได้ ในฐานะคนไข้ได้วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท หรือไม่เกิน 20 วัน เช่นเดียวกัน แต่ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด ในกรณีที่ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 304,000 บาทต่อ 1 ท่าน

พรบ รถยนต์ ถ้าไม่มี หรือไม่ต่ออายุ จะเป็นอย่างไร

ในเบื้องต้น หากรถยนต์คันใด ไม่มี พรบ รถยนต์ หรือมี แต่ขาดการต่ออายุ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และนอกจากนี้นั้น การไม่ต่ออายุ พรบ รถยนต์ ส่งผลให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ดังนั้นจึงทำให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุดไปด้วย และหากไม่ต่ออายุนานเกิน 3 ปี เลขทะเบียนของคุณจะถูกระงับ เมื่อนั้นจะทำให้คุณต้องยุ่งยากเสียเวลาในการไปจดทะเบียนใหม่ที่กรมขนส่ง อีกทั้งยังต้องเสียภาษีรถยนต์คงค้างย้อนหลัง และค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี และหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยในรถยนต์คันนั้น จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พรบ รถยนต์ ตามที่เราแจ้งคุณไปในข้างต้นนี้แล้วว่า หากมี พรบ รถยนต์ คุณจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง คุณจะเห็นได้ว่า พรบ รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมไปถึงบุคคลภายนอกอีกด้วย อีกทั้ง พรบ รถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องมี ไม่เช่นนั้น อาจส่งผลเสียตามมา อย่างที่เรากล่าวไปแล้วนั้น เมื่อคุณได้รับรู้ถึงข้อเสียต่าง ๆ ของการไม่ต่อ พรบ รถยนต์ อย่างนี้แล้ว อย่าลืมที่จะกลับไปเช็ควันหมดอายุของ พรบ รถยนต์ อีกทั้งในปัจจุบันนี้ก็มีบริษัทตัวแทนประกันหลากหลายแห่งให้คุณได้เลือกใช้

พรบ รถยนต์ ต่างจากประกันรถยนต์ไหม และประกันรถยนต์ คืออะไร

ระหว่าง พรบ รถยนต์ กับ ประกันรถยนต์ ต่างกันอย่างไร

อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นนี้แล้วว่า พรบ รถยนต์ จะคุ้มครองเฉพาะผู้ประสบภัยเท่านั้น ไม่ได้ให้ความคุ้มครองใด ๆ ในตัวรถยนต์เลย ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา คุณอาจมีค่าชดเชยมาช่วยในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ทั้งของคุณ และคู่กรณี แต่หากรถยนต์เสียหาย มีความจำเป็นต้องซ่อม หรืออาจแย่ไปกว่านั้น โดยรถยนต์พังเสียหายยับเยิน จมน้ำ หรืออาจไฟไหม้ทั้งคัน ส่งผลให้คุณต้องผ่อนซากรถอีกต่อไป จนกว่าจะครบตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับไฟแนนซ์ เพราะด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้ประกันภัยรถยนต์เข้ามามีบทบาท เพราะประกันรถยนต์นั้น จะช่วยเข้ามาคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ และที่สำคัญประกันรถยนต์ ยังมีความคุ้มครองอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองความสูญหาย น้ำท่วม ไฟไหม้ การก่อการร้าย หรือภัยจากธรรมชาติ มีวงเงินประกันตัวผู้ขับขี่ หากเกิดเหตุคดีอาญา อีกทั้งยังมีวงเงินค่ารักษาพยาบบอลที่เพิ่มเติมจากวงเงินที่คุ้มครองจาก พรบ รถยนต์ อีกด้วย เนื่องจากวงเงินคุ้มครอง พรบ รถยนต์ ในเบื้องต้นนั้น มีเพียงแค่ 30,000 บาทเท่านั้น แต่หากคุณบาดเจ็บหนัก และมีค่ารักษาพยาบาลที่แพงมาก การทำประกันรถยนต์เอาไว้ จะได้ช่วยให้คุณไม่ต้องเป็นหนี้ค่ารักษาพยาบาล

มี พรบ รถยนต์ อย่างเดียว ไม่ต้องมีประกันรถยนต์ ได้หรือไม่

มาถึงคำถามยอดฮิต ที่มีใครหลายคนเคยถามเอาไว้ว่า จะเสียเงินซื้อประกันรถยนต์ในราคาแพง ๆ ไปทำไม ในเมื่อมี พรบ รถยนต์ อยู่แล้ว คำตอบที่เราหามาได้คือ ไม่ได้ผิดอะไร เพราะไม่มีข้อกฎหมายไหนบังคับ ให้คุณต้องทำประกันรถยนต์ ถึงได้มีคำจำกัดความให้ประกันภัยรถยนต์ว่า เป็นประกันภัยภาคสมัครใจ แต่หากถามกลับว่า หากคุณขับรถไปชน จนเกิดความเสียหายมาก อย่างที่เราบอกไปแล้วนั้น ย่อมต้องมีการซ่อมแซมเกิดขึ้น แล้วคุณสามารถรับสภาพภาระตรงนี้ได้หรือไม่ หรือหากร้ายไปกว่านั้นอีก เช่น เกิดอุบัติเหตุใหญ่ คุณจะสามารถจ่ายค่ารักษาอันแสนแพง ที่นอกเหนือไปจากความคุ้มครอง พรบ รถยนต์ ได้หรือไม่ ซึ่งหากคุณรวยเป็นพันล้านชนิดที่ว่า รถพังไม่สนใจ บาดเจ็บมีเงินสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูง ดังนั้นประกันภัยรถยนต์ อาจไม่จำเป็นสำหรับคุณ แต่หากฐานะการเงินของคุณนั้น ไม่ได้รวยล้นฟ้าเช่นนั้น การมีประกันภัยรถยนต์ติดไว้ มันจะสามารถช่วยให้คุณปลอดภัยจากวิกฤติทางการเงินได้เช่นกัน

หากให้เราสรุปง่าย ๆ ถึงความแตกต่างระหว่าง พรบ รถยนต์ จะคุ้มครองเฉพาะค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น ในส่วนของประกันรถยนต์ จะเข้ามาช่วยคุ้มครองตัวรถยนต์ของคุณ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแล้วละว่า จะเลือกซื้อประกันรถยนต์เพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ อย่างที่เรากล่าวไปแล้วหรือไม่ เพราะอย่างที่เราบอกไปแล้วว่า ในเรื่องของกฎหมายนั้น ไม่ได้มีข้อบังคับว่า คุณต้องทำประกันรถยนต์ แต่หากคุณได้คิดพินิจพิจจารณาเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ได้อ่านบทความทั้งหมดจากเราแล้วนั้น เราขอแนะนำคุณว่า คุณต้องมีทั้ง พรบ รถยนต์ และ ประกันภัยรถยนต์ไว้คู่กัน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ในทุก ๆ ด้าน

More To Explore

gps วัดความเร็ว
SearchGPSfromfreephonenumbers