ทำไมแคชเชียร์เช็คถึงปลอดภัยกว่าเช็คทั่วไป?

แม้ในปัจจุบัน ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่สังคมไร้เงินสดกันแล้ว ไปที่ไหนก็มี QR Code ให้สแกน ไม่ต้องพกเงินสดก็ชำระค่าใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์ได้ แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ที่เราต้องหยิบเงินสดจำนวนมากไปในที่ต่างๆ เช่น ชำระเงินกู้บ้าน วางเงินดาวน์รถยนต์ ชำระค่าธรรมเนียมให้กรมที่ดิน ชำระค่าโปรแกรม POS ภายในครั้งเดียวพร้อมกับติดตั้ง เป็นต้น ซึ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ถือเงินสด โดนปล้น ทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและทรัพย์สิน แล้วจะมีวิธีการใดในการถือเงินสดอย่างปลอดภัยอีกล่ะ แคชเชียร์เช็คคือคำตอบนั้น

แคชเชียร์เช็ค คือ เช็คชนิดหนึ่งที่ออกโดยธนาคาร จำนวนเงินสดที่สามารถเบิกจากแคชเชียร์เช็คได้คือจำนวนที่ตรงกับที่ระบุในแคชเชียร์เช็ค และผู้รับเงินต้องเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อที่ระบุไว้ในแคชเชียร์เช็คเท่านั้น แคชเชียร์เช็คจะมีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ฝ่าย คือ ผู้ที่ซื้อแคชเชียร์เช็คกับธนาคาร ผู้ขายแคชเชียร์เช็คก็คือธนาคารเท่านั้น และผู้ที่รับเงินหรือผู้ที่มีชื่อในแคชเชียร์เช็ค

แคชเชียร์เช็ค ประกอบด้วย วันที่สั่งจ่าย เลขที่แคชเชียร์เช็ค ชื่อผู้รับ จำนวนเงิน ผู้มีอำนาจลงนาม และต้องระบุในแคชเชียร์เช็คด้วยว่า Account Payee Only (A/C Payee Only) หรือไม่ เมื่อระบุว่า A/C Payee Only เงินจะเข้าที่บัญชีของผู้รับเงินเท่านั้น เข้าในชื่อบัญชีตามที่ระบุในหน้าแคชเชียร์เช็ค แต่หากไม่ระบุ A/C Payee Only เงินจะเข้าที่บัญชีตัวเองก็ได้ หรือสลักหลังโอนเช็คต่อให้ผู้อื่นได้

A close up of text on a white background Description automatically generated

เช็คทั่วไป ต่างจาก แคชเชียร์เช็ค คือ?

แคชเชียร์เช็ค เทียบได้กับบัตรเดบิต มีเงินในแคชเชียร์เช็คแน่นอน จึงสามารถเบิกได้ ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายและผู้จ่ายแคชเชียร์เช็คเท่านั้น สำหรับการออกแคชเชียร์เช็ค ผู้ที่ขอออกแคชเชียร์เช็คไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่จะขอออกแคชเชียร์เช็ค ส่วนผู้ที่ได้รับแคชเชียร์เช็ค เมื่อนำแคชเชียร์เช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารที่ออกแคชเชียร์เช็คเท่านั้น ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือสูง เพราะหากธนาคารนั้นไม่ล้มละลาย เช็คก็ไม่มีโอกาสเด้งเลย

เช็คทั่วไป เทียบได้กับบัตรเครดิต อาจจะมีหรือไม่มีเงินในเช็คก็ได้ จึงมีโอกาสเช็คเด้งสูงกว่า บุคคลธรรมดาสั่งจ่ายเช็คทั่วไปได้ แต่ธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเช็คทั่วไปเสมอ ผู้สั่งจ่ายและผู้จ่ายอาจจะเป็นคนละคนกัน สำหรับการออกเช็คทั่วไป ผู้ที่ขอออกเช็คทั่วไปต้องมีบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารที่จะออกเช็คเท่านั้น ส่วนผู้ที่ได้รับเช็คทั่วไป เมื่อนำเช็คทั่วไปมาขึ้นเงิน หากจำนวนเงินในบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่พอกับจำนวนเงินที่สั่งจ่าย มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าแคชเชียร์เช็ค เช็คจึงเด้งได้ง่ายกว่าแคชเชียร์เช็ค

ทำไมต้องใช้แคชเชียร์เช็ค?

ธุรกรรมทางธุรกิจที่จะใช้แคชเชียร์เช็ค คือการทำธุรกรรมที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ต้องพกธนบัตรหลายใบ เช่น การซื้อรถ จ่ายดาวน์รถ ชำระค่าโอนที่ดิน ชำระค่าจดทะเบียนที่ดิน ซึ่งการพกเงินสดจำนวนมากนั้น เสี่ยงต่อการสูญหาย โดนปล้นระหว่างทาง เจ้าหน้าที่อาจทุจริต ไม่ได้เอาเงินสดที่ได้รับจากเราเข้าบัญชีบริษัท แคชเชียร์อาจเกิดการผิดพลาดจากการนับธนบัตรจำนวนมาก ดังนั้นจุดเด่นของแคชเชียร์เช็คจะไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และผู้รับเงินมั่นใจว่าได้รับเงินแน่นอน

วิธีซื้อแคชเชียร์เช็ค คือ?

จะซื้อแคชเชียร์เช็คได้กับธนาคารเท่านั้น เพราะธนาคารเท่านั้นที่สามารถออกแคชเชียร์เช็คได้ ทำได้โดยถอนเงินสดในบัญชี หรือตัดเงินในบัญชีกับธนาคารนั้นๆ ซึ่งเงินนั้นประกอบด้วย เงินที่เท่ากับจำนวนที่จะระบุในแคชเชียร์เช็ค เงินสำหรับค่าธรรมเนียมแคชเชียร์เช็ค 20 บาท ต่อแคชเชียร์เช็ค 1 ฉบับ

แคชเชียร์เช็คหาย ทำอย่างไร?

หากแคชเชียร์เช็คสูญหายระหว่างทาง สิ่งแรกที่ควรทำ คือ แจ้งธนาคารที่ออกแคชเชียร์เช็คโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นธนาคารสาขาใดก็ตาม ขอให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้น จากนั้นแจ้งความกับตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ ลงบันทึกประจำวันและนำสำเนาแจ้งความมามอบให้ธนาคาร เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการอายัดแคชเชียร์เช็คนั้น และออกแคชเชียร์เช็คฉบับใหม่หากต้องการ

วิธียกเลิกแคชเชียร์เช็ค คือ?

แคชเชียร์เช็คสามารถยกเลิกได้โดยผู้ที่ซื้อแคชเชียร์เช็คเท่านั้น วิธีการคือผู้ที่ซื้อแคชเชียร์เช็คจะต้องติดต่อธนาคารผู้ที่ออกเช็คด้วยตนเองโดยตรง พร้อมเอกสารประกอบการยกเลิก ทั้งบัตรประชาชน แคชเชียร์เช็คที่จะยกเลิก ใบสร็จการชำระเงินของแคชเชียร์เช็คนั้น ซึ่งการยกเลิกแคชเชียร์เช็คไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ธนาคารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมตอนซื้อที่ชำระไปแล้ว

อายุของแคชเชียร์เช็ค คือ

แคชเชียร์เช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออกให้นี้ไม่มีวันหมดอายุ เนื่องจากธนาคารได้รับเงินจากผู้ซื้อแคชเชียร์เช็คไปแล้ว แม้ว่าผ่านไปนานหลายปี ก็ยังสามารถขึ้นเงินได้ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ มักจะส่งเรียกเก็บข้ามธนาคารไม่ได้เพราะแคชเชียร์เช็คนั้นออกมานานแล้ว อาจต้องติดต่อธนาคารที่ออกแคชเชียร์เช็คก่อน

แคชเชียร์เช็ค ปลอมได้หรือไม่

แคชเชียร์เช็คก็ปลอมได้ ที่ผ่านมามีการปลอมแคชเชียร์เช็คเกิดขึ้น หากไม่แน่ใจในแคชเชียร์เช็ค ลักษณะของแคชเชียร์เช็คผิดปกติ ตัวอักษรจาง สีกระดาษจางกว่าที่ควรจะเป็น โลโก้ของธนาคารคลุมเครือ ไม่ชัดเจน โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คถ่ายรูปแคชเชียร์เช็คที่สั่งจ่ายให้เราดูล่วงหน้า แล้วโทรคอนเฟิร์มเพื่อเช็คความถูกต้องของแคชเชียร์เช็คและตรวจสอบหมายเลขแคชเชียร์เช็คกับธนาคารว่าตรงกับหมายเลขที่ออกจากธนาคารนั้นจริงหรือไม่ ในวันที่ได้รับแคชเชียร์เช็คก็เช่นกัน ให้ตรวจสอบว่าข้อมูลตรงกับที่เราได้รับสำเนารูปแคชเชียร์เช็คนั้นถูกต้องทั้งหมดหรือไม่

More To Explore

GPS Real Time คือ