การเปิดบัญชีเงินฝากประจำถือเป็นหนึ่งในวิธีออมเงินที่คนส่วนใหญ่นิยม เพราะนอกจากจะมีอัตรา ดอกเบี้ยฝากประจำ สูงเมื่อฝากเงินจนครบสัญญาแล้ว การฝากประจำยังเป็นการออมเงินที่มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยและมีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเงินออมในบัญชีจะหายเหมือนการลงทุนประเภทอื่น แถมยังได้กำไรเป็น ดอกเบี้ยฝากประจำ ซึ่งแน่นอนว่ามีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากว่าบัญชีออมทรัพย์
นอกจากนั้นหลายคนยังมองว่าการออมเงินด้วยการเปิดบัญชีเงินฝากประจำนั้นเป็นการฝึกวินัยในการออมเงิน เพราะต้องนำเงินเข้าบัญชีเป็นประจำทุกเดือนตามเพื่อคงสถานะของบัญชีเงินฝากประจำเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันธนาคารหรือสถาบันการเงินจึงขยันออกบัญชีเงินฝากประจำรูปแบบต่าง ๆ ออกมาให้ผู้บริโภคได้เลือกมากมาย แต่บัญชีไหนที่ให้ ดอกเบี้ยฝากประจำ น่าสนใจในปี 2019 บ้างนั้น วันนี้เรามีคำตอบดี ๆ มาก รับรองถูกใจหนุ่มสาวนักออมเงินอย่างแน่นอน
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารไทยเครดิต
เริ่มต้นกันด้วยธนาคารไทยเครดิตที่หลายคนอาจไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่ แต่หากไปถามบรรดาแม่ค้าพ่อค้าแล้วล่ะ บอกว่าธนาคารแห่งนี้มีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย เพราะเน้นปล่อยสินเชื่อให้แม่ค้าพ่อค้าและผู้ประกอบการรายย่อย แต่ถ้าสนใจบัญชีเงินฝากประจำประเภทบัญชีเงินฝากปลอดภาษีของธนาคารแห่งนี้บอกเลยว่าประโยชน์ที่คุณจะได้คือ ดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 3% เมื่อเลือกฝากประจำ 36 เดือน แต่ถ้าเลือกแบบ 24 เดือนจะได้รับดอกเบี้ยถึง 2.75% ซึ่งก็ต้องถือว่าสูงกว่าหลาย ๆ ธนาคาร นอกจากนั้นยังใช้เงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 1,000 บาทเท่านั้น อย่างไรก็ตามบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารไทยเครดิตมีข้อเสียตรงที่ฝากเงินได้ครั้งละไม่เกิน 25,000 บาท สำหรับการฝากแบบ 24 เดือน และ 16,500 บาท สำหรับการฝากแบบ 36 เดือน โดยร่วมกันตลอดระยะเวลาฝากต้องไม่เกิน 600,000 บาท ทำให้มีข้อจำกัดในการออมเงิน
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ทวีค่า ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
อีกหนึ่งธนาคารที่ชื่อคุ้นหู เพราะเป็นชื่อของบริษัทอสังหาริมทรัพย์อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ถึงอย่างนั้นธนาคารแห่งนี้ไม่ได้มีแค่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น เพราะ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ นั้นก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ทวีค่า ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ นั้นให้ดอกเบี้ยสูงถึง 3% แถมยังใช้เงินเลือกจำนวนเปิดบัญชีได้ขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุด 16,500 บาท ส่วนข้อเสียนั้นอยู่ตรงที่มีระยะเวลาในการฝากเงินนานถึง 36 เดือนและจำนวนเงินรวมต้องไม่เกิน 600,000 บาท จึงเหมาะสำหรับคนที่มีเงินเดือนไม่สูงมากนักและไม่ปัญหาเรื่องเงินในระยะสั้น
บัญชีฝากประจำพิเศษ (สมุดคู่ฝาก) ธนาคารไทยเครดิต
อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารไทยเครดิตที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 3% แต่เป็นบัญชีเงินฝากประจำระยะสั้นเพียง 4 เดือนเท่านั้น และใช้เงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท สำหรับข้อเสียของบัญชีฝากประจำแบบนี้คือ ต้องเปิดบัญชีคู่กับการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของธนาคารไทยเครดิตเท่านั้น และเปิดบัญชีสูงสุดได้ไม่เกินวงเงินประกันชีวิตอีกด้วย
บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน ธนาคาร ไทยพาณิชย์
มาถึงธนาคารยอดนิยมของประเทศไทยที่หลายคนบอกว่าทำงานรวดเร็วทันใจแถมยังมีสาขาให้เลือกใช้บริการมากมาย สำหรับบัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือนนั้นจุดเด่นอยู่กำหนดจำนวนเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 500 บาทเท่านั้น แต่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 2.75- 2.85% และผู้เปิดบัญชียังได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากอีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสียของบัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน ธนาคาร ไทยพาณิชย์คือ ผู้ที่สามารถเปิดบัญชีได้ต้องเป็นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น และต้องฝากไปจนครบ 36 เดือน โดยหากไม่นำเงินเข้าติดต่อกัน 2 เดือนก็จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี ธนาคารไอซีบีซี ไทย
อีกหนึ่งบัญชีเงินฝากปลอดภาษีที่น่าสนใจ เพราะมีอัตราดอกเบี้ย 2.55-2.70% อีกทั้งยังใช้เงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท สูงสุด 25,000 บาท นอกจากนั้นสามารถเลือกได้อีกว่าจะฝากแบบ 24 หรือ 36 เดือน ส่วนข้อเสียของบัญชีลักษณะแน่นอนว่าเปิดได้เฉพาะผู้ที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา แต่ที่อาจทำให้หลายคนเป็นกังวลมากที่สุดก็คือ การฝากเงินเข้าบัญชีทุกครั้งต้องฝากเท่ากับจำนวนเงินที่เปิดบัญชี เพราะฉะนั้นใช้เงินเปิดบัญชีน้อยก็ต้องนำเงินเข้าน้อยไปตลอดระยะสัญญา แต่ถ้าใช้เงินจำนวนมากก็ต้องเข้าด้วยจำนวนนั้นไปตลอดเช่นกัน
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารธนชาติ
เรียกว่าไม่น้อยหน้าธนาคารไหน ๆ กับบัญชีเงินฝากปลอดภาษีของธนาคารธนชาติที่ให้ลูกค้าเปิดบัญชีได้ด้วยเงินขึ้นต่ำเพียง 300 บาท สูงสุด 25,000 บาท โดยให้อัตราดอกเบี้ย 2.60% ส่วนข้อเสีย เป็นบัญชีเงินฝากประจำที่ให้บริการเฉพาะแบบสมุดคู่ฝาก ต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อีกหนึ่งบัญชีไว้รับดอกเบี้ยและต้องนำเงินเข้าบัญชีในจำนวนเงินเท่ากันตลอดระยะเวลา 24 เดือน
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีทวีสิน ธนาคารยูโอบี
จุดเด่นของบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีทวีสิน ธนาคารยูโอบีอยู่ที่ใช้เงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท อีกทั้งยังมีระยะเวลาฝากเงินให้เลือกหลายระยะ คือ 24,36, 48 และ 60 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 2- 2.5% แต่ข้อเสียของบัญชีนี้คือ ผู้ที่สามารถเปิดได้ต้องทำประกันชีวิตและชำระเบี้ยขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อปีต่อหนึ่งกรมธรรม์และต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีในจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือนจนกว่าจะครบสัญญา
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี LH Bank Smart Kids ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่น่าสนใจเพราะให้ดอกเบี้ยกว่า 2.5% แถมยังเปิดบัญชีขั้นต่ำ เพียง 1,000 บาท โดยเป็นบัญชีสำหรับบุคคลธรรมดา ส่วนข้อเสียนั้นคือ ต้องฝากเงินเข้าบัญชีเท่ากันทุกเดือนและถ้าปิดบัญชีก่อน 6 เดือนต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงิน 100 บาทเพิ่มเติม
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำหรับบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีจุดเด่นอยู่ที่บุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 7 ปีสามารถเปิดบัญชีได้ด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท มีอัตราดอกเบี้ย 2.5% แต่ข้อเสียคือ ต้องมีบัญชีออมทรัพย์ไว้รับดอกเบี้ยเมื่อครบระยะฝากเงิน โดยต้องฝากเงินเท่ากับทุกเดือนแต่ไม่สามารถฝากเงินล่วงหน้าได้
บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ 24 เดือน ธนาคารกสิกรไทย
บัญชีเงินฝากประจำระยะ 24 เดือนสำหรับบุคคลธรรมดา โดยเปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 สูงสุด 25,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าต้องนำเงินเข้าบัญชีเท่า ๆ กันทุกเดือน ส่วนข้อเสียนั้นหากฝากเงินเข้าบัญชีไม่ถึง 3 หรือถอนเงินออกจากบัญชีก่อนกำหนดจะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคาร
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารทิสโก้
ข้อดีของบัญชีเงินฝากปลอดภาษีจากธนาคารทิสโก้คือ สามารถเลือกได้ว่าจะฝากเงินระยะ 24 เดือน รับดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี และฝากเงินระยะ 24 เดือน รับดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าเป็นระยะ 24 เดือนต้องฝากอยู่ในช่วง 5,000 – 25,000 บาทและระยะ 36 เดือน ฝากต่อเดือน 2,000 – 16,500 บาท โดยต้องนำเงินเข้าบัญชีเท่ากันทุกเดือน ซึ่งหากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขได้จะได้รับดอกเบี้ยเพียง 0.5% และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีด้วย
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
มาถึงบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีของธนาคารกรุงศรีอยุธยากันบ้าง ซึ่งที่มีให้เลือกระยะเวลาฝาก 24 เดือนหรือ 36 เดือน โดยเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่เกิน 25,000 บาท สำหรับระยะฝาก 24 เดือนและไม่เกิน 16,000 บาท สำหรับระยะฝาก 36 เดือน แต่ข้อเสียคือ ถ้าผู้ฝากผิดเงื่อนไขสัญญา 2 เดือนขึ้นไป ธนาคาจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือนทันที
บัญชีเงินฝากประจำ KTB Zero Tax MAX ธนาคารกรุงไทย
บัญชีเงินฝากประจำ KTB Zero Tax MAX ของธนาคารกรุงไทยหนึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งบัญชีที่น่าสนใจ เพราะมีระยะเวลาเงินฝากให้เลือกหลายระยะ คือ 24, 36 และ 48 เดือน โดยสามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งจะมีการบอกเพิ่มดอกเบี้ยในอัตราเพิ่ม 0.80% ต่อสำหรับระยะฝาก 24 เดือน 1,05% สำหรับระยะฝาก 36 เดือน และ 48 เดือน แต่ข้อเสียคือ ต้องมีบัญชีเงินฝากออกทรัพย์ไว้สำหรับรับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด
บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 72 เดือน ธนาคารเกียรตินาคิน
อีกหนึ่งบัญชีเงินฝากประจำที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีข้อดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องนำเงินเข้าบัญชีทุกเดือน ซึ่งสามารถนำเงินฝากได้ตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 100,000,000 บาท โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยอัตรา 2.5% ทุกเดือน ตลอด 72 เดือน และเมื่อครบสัญญาถ้าไม่ได้ปิดบัญชี ธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือนทันทีเพื่อรับดอกเบี้ยต่ออีกขั้น ส่วนข้อเสียนั้นก็คือ หากต้องการถอนเงินก่อนกำหนดเวลาจะต้องถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมด นอกจากนั้นถ้าฝากไม่ถึง 3 เดือนจะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคาร
บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 50 เดือน ธนาคารเกียรตินาคิน
สำหรับคนที่สนใจผลประโยชน์ของบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 72 เดือน ธนาคารเกียรตินาคิน แต่อยากฝากเงินในระยะเวลาที่น้อยลง ทางธนาคารจึงได้ออกผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 50 เดือนออกมาเอาใจลูกค้า โดยให้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ย 2.3% ทุกเดือนตลอด 50 เดือน ส่วนข้อเสียนั้นก็เหมือนกันคือ หากต้องการถอนเงินก่อนกำหนดเวลาจะต้องถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมด นอกจากนั้นถ้าฝากไม่ถึง 3 เดือนจะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคาร
บัญชีฝากประจำสินมัธยะทรัพย์ทวี ธนาคารกรุงเทพ
จุดเด่นของบัญชีฝากประจำสินมัธยะทรัพย์ทวีจากธนาคารกรุงเทพคือ สามารถเลือกระยะการฝากเงินได้หลายระยะ ไม่ว่าจะเป็น 24, 36, 48 และ 60 เดือนและไม่กำหนดวันและยอดขั้นต่ำในการนำเงินเข้าบัญชี แต่ต้องไม่เกินวันทำการวันสุดท้ายของวันทำการ โดยได้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.25-2.5 % สำหรับข้อเสียของบัญชีเงินฝากประเภทนี้คือ ถ้าถอนเงินฝากก่อนกำหนดจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก 60% ของดอกเบี้ยทั้งหมด แต่จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
บัญชีเงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ Plus ธนาคารซีไอเอ็มบี
ความน่าสนใจและข้อดีของบัญชีเงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ Plus ของธนาคารซีไอเอ็มบีอยู่ตรงที่เป็นบัญชีเงินฝากประจำลูกค้าสามารถเปิดได้ตั้งแต่อายุถึง 1 เดือนจนถึง 65 ปี และเลือกได้ว่าจะฝากระยะเวลา 24 เดือนหรือ 36 เดือน โดยได้ดอกเบี้ยคงที่ 2.3% จนครบสัญญาเงินฝาก นอกจากนั้นยังได้รับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลด้วย ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้เงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 15,000 บาท
บัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน ธนาคารออมสิน
สำหรับบัญชีบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน ธนาคารออมสินนั้นมีจุดเด่นที่ไม่จำกัดประเภทของผู้เปิดบัญชี ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป นิติบุคคลทั้งแบบทั่ว ๆ ไปและไม่แสวงผลกำไร ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็สามารถทำเปิดบัญชีนี้ได้หมด โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1,55-2,25% นอกจากนั้นยังใช้เงินเปิดขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป และสามารถถอดเงินได้ทุกเมื่อที่ต้องการ แต่ข้อเสียคือ ถ้ามียอดเงินคงเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ย
บัญชีเงินฝากประจำทันใจ ระยะเวลาการฝาก 12 เดือน ธนาคารไทยเครดิต
เป็นอีกหนึ่งบัญชีเงินฝากที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกำไรเป็น ดอกเบี้ยเฝากประจำ เพราะบัญชีเงินฝากประจำทันใจ ระยะเวลาการฝาก 12 เดือน ธนาคารไทยเครดิตให้ดอกเบี้ยกว่า 2% และได้รับดอกเบี้ยเพิ่มอีก 0.70% ต่อปี หากฝากเงินเกินกว่า 1,500,000 ปี ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้เงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี 100,000 บkm
บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 12 เดือน ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ปิดท้ายกับอีกหนึ่งบัญชีเงินฝากที่เหมาะสำหรับทำกำไร เพราะบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 12 เดือน ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ให้ดอกเบี้ยกว่า 1.88% เมื่อฝากเงินตั้งแต่ 2 ล้านขึ้นไป แต่ถ้ามากกว่า 5 ล้านจะได้ดอกเบี้ย 2.0% เรียกว่าฝากมากก็ได้มาก แต่ข้อเสียคือ ต้องเปิดบัญชีขั้นต่ำที่ 2 ล้านบาทและสงวนสิทธิ์เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดาที่เป็นลูกค้าใหม่ของธนาคารเท่านั้น
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ 20 อันดับ ดอกเบี้ยฝากประจำ น่าสนใจ ปี 2019 ที่นำมาฝาก ซึ่งแต่ละบัญชีเงินฝากประจำแต่ละรูปแบบ แต่ละธนาคารต่างก็มีผลประโยชน์ เงื่อนไข ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจควรศึกษาให้ละเอียด เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองให้มากที่สุด