ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ต้องยอมรับว่า ‘เงิน’ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของทุกคน เรียกได้ว่าตั้งแต่ลืมตาตื่นก็มีเรื่องให้เสียเงินแล้ว ดังนั้นนอกจากหาเงินให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตแล้ว หลายคนจึงพยายามเก็บออมเงินไว้ใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิตเมื่อไม่ได้ทำงานแล้ว ซึ่งเรื่องนี้อาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนที่มีอาชีพข้าราชการ เพราะเมื่อเกษียณอายุส่วนใหญ่จะได้รับเงินบำเหน็จรายเดือนหรือบำนาญก้อนโต ในขณะที่นักธุรกิจที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง ส่วนใหญ่มักหาเงินได้เป็นจำนวนมากต่อเดือน จึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินสำรองในภายหลัง แถมยังมีธุรกิจตกทอดไปให้ลูกหลานอีกด้วย แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนนั้นการเก็บเงินอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะหลายคนมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน หากไม่ระมัดระวังในการใช้หรือไม่มี วิธีบริหารเงิน ในกระเป๋าไม่ถูกวิธี นอกจากจะไม่ได้เก็บออมไว้ใช้ยามแก่แล้วอาจไม่พอต่อการใช้จ่ายต่อเดือนจนต้องไปหายืมจากคนในครอบครัว เพื่อนหรือแม้กระทั่งยอมกู้เงินแบบเสียดอกเบี้ย เพื่อนำเงินมาแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินของมนุษย์เงินเดือนให้ดียิ่งขึ้น วันนี้เราจึงมี 20 วิธีบริหารเงิน ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้มาฝาก รับรองว่ามีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ตอนแก่แน่นอน
1.พยายามจัดสรรค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน
สำหรับ วิธีบริหารเงิน วิธีแรกนั้น ถือว่าเป็นวิธีที่มนุษย์เงินเดือนควรทำทันทีหลังจากที่ได้รับเงินเดือน โดยต้องแบ่งให้ชัดเจน หลัก ๆ แล้ว ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าของใช้จิปาถะ ช่วยป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายส่วนโดยร่วมเกินกว่ารายรับที่หามาได้ในแต่ละเดือนและหากเหลือจากใช้จ่ายก็สามารถเก็บไว้เป็นเงินออมได้ด้วย ส่วนข้อเสียของวิธีนี้คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อาจไม่ได้ตรงตามที่จัดสรรปันส่วน ดังนั้นจึงต้องคอยระมัดระวังในการใช้เงินเพื่อไม่ให้ไปเบียดเบียนค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ
2. เก็บเงินออมทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน
การหักเงินออกเป็นเงินออมทันที่หลังจากได้รับเงินเดือนนั้นเป็นบริหารจัดการเงินและการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะทำให้สามารถออมเงินได้ในจำนวนที่เท่ากันทุกเดือนและคำนวณได้ว่ามีเงินเก็บไว้เท่าไหร่ สำหรับข้อเสียนั้นก็แน่นอนว่าต้องใช้เงินเดือนที่เหลืออยู่ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด
3. เก็บเงินหยอดกระปุก
อีกหนึ่งวิธีเก็บเงินที่ทุกคนต้องเคยทำเมื่อตอนเป็นเด็ก จึงทำให้หลายคนรู้สึกสบายใจเพราะถือว่าไม่เป็นการบังคับตัวเองในการออมเงินมากเกินไป เรียกว่าอยากหยอดเมื่อไหร่ก็หยอด เมื่อเต็มกระปุกแล้วก็นำเงินทั้งหมดไปฝากธนาคารหรือซื้อสิ่งของที่ต้องการ ส่วนข้อเสียวิธีนี้คือ เก็บเงินได้น้อยหรือไม่ได้เลยหากขาดวินัย รวมทั้งยังไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าในกระปุกมีเงินอยู่จำนวนเท่าไหร่
4. ตั้งเป้าหมายในการออมเงิน
วิธีนี้นับว่าเป็นการวางแผนออมเงินอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักจะตั้งเป้าหมายออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เรียนต่อ ซื้อที่ดิน เพราะหากไม่แบ่งเงินเอาไว้เพื่อทำตามเป้าหมายตั้งแต่วันนี้สุดท้ายแล้วเมื่อแก่ตัวไป อาจไม่มีแม้แต่บ้านหรือรถยนต์ไว้ใช้งาน สำหรับข้อเสียก็แน่นอนว่าในแต่เดือนต้องใช้เงินอย่างประหยัดเพื่อแบ่งเก็บให้ได้ตามจุดประสงค์
5. พยายามทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกวัน
การทำบัญชีจะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนรู้ว่าในแต่ละวันจ่ายเงินไปกับอะไรและเท่าไหร่บ้าง ทำให้มองเห็นว่ารายจ่ายส่วนไหนคือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือค่าใช้จ่ายส่วนเกิน แต่วิธีนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องเป็นคนละเอียดรอบคอบ มีวินัยในการจดบันทึกและที่สำคัญต้องนำรายรับรายจ่ายของตัวเองมาวิเคราะห์เพื่อนำมาลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินและเพิ่มเงินออมแต่ละเดือน
6. พยายามลิสต์สิ่งของที่ต้องการก่อนไปซื้อของ
การลิสต์รายชื่อสิ่งของที่ต้องการก่อนออกไปเดินซื้อที่ตลาดหรือห้างสรรพสินค้า นอกจากจะช่วยให้ได้ของตรงตามที่ต้องการแล้ว ยังสามารถคาดเดาค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้า คุ้มค่าใช้จ่ายได้ และไม่วอกแวกไปซื้อสิ่งของที่นอกเหนือไปจากแผนที่วางไว้ ส่วนข้อเสียนั้นก็แน่นอนว่าหากเตรียมเงินไปพอดีบ้างครั้งอาจไม่ได้ของที่ตัวเองต้องการ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดความเครียดในการใช้ชีวิต
7. พยายามงดซื้อของราคาแพงที่ไม่จำเป็น
แน่นอนว่าสิ่งของราคาแพงที่ไม่จำเป็นนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นของฟุ่มเฟื่อย ไม่ว่าจะเป็น นาฬกาหรู เครื่องประดับ ของเล่น ของใช้ไอที เสื้อผ้าแบรนด์เนม เป็นต้น ซึ่งหากจำเป็นต้องซื้อจริง ๆ แนะนำว่าควรเลือกเป็นของประเภทเดียวกันที่มีราคาต่ำลง เพื่อลดการก่อหนี้ เพราะมนุษย์เงินเดือนมักจ่ายค่าสินค้าฟุ่มเฟื่อยด้วยบัตรเครดิต ส่วนข้อเสียของวิธีนนั้นคือ บางครั้งหลายคนไม่อาจหักห้ามใจตัวเองได้
8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
ต้องยอมรับว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนติดพฤติกรรมการใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ว่าจะเป็น ทานอาหารนอกบ้าน ท่องเที่ยวบ่อย ดูหนัง ฟังเพลง ปาร์ตี้ ซึ่งถ้าอยากมีเงินเก็บเหลือไปใช้ตอนแก่สิ่งที่ต้องทำคือ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดใช้เงิน แต่ข้อเสียที่ตามมาคือ อาจทำให้รู้สึกเครียดกับการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกดดันตัวดองด้วยการงดอย่างสิ้นเชิง แต่ปรับลดลงให้เหลือน้อยลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้เหลือเงินเก็บมากขึ้น
9. เพิ่มรายได้ด้วยการทำงานให้มากขึ้น
สำหรับมนุษย์เงินเดือนวิธีการหาเงินที่ง่ายที่สุดคือ การทำงานล่วงเวลาหรือโอที เพราะฉะนั้นหากต้องการมีรายได้และเงินเหลือเก็บเพิ่มก็ต้องทำงานเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นการยอมลาบากตอนนี้เพื่อชีวิตที่สบายขึ้นยามแก่ ส่วนข้อเสียนั้นแน่นอนว่าอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยจากการทำงานมากเกินไปและส่งผลเเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้
10. หารายได้เสริมเพื่อเป็นส่วนของเงินเก็บสำรอง
อีกหนึ่งวิธีการเพิ่มรายได้เพราะในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้การทำอาชีพเสริมนั้นทำได้ง่ายขึ้น ทั้งการขายของออนไลน์ ฟรีแลน งานประดิษฐ์ ซึ่งนอกจากจะมีรายรับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังเป็นการฝึกฝีมือใรสายงานอื่นนอกเหนือจากงานประจำของตัวเองอีกด้วย สำหรับข้อเสียของวิธีนี้คือ ถ้าแบ่งเวลาไม่ดีก็อาจทำให้ส่งผลกระทบกับงานประจำที่ทำอยู่ได้
11. ออมเงินด้วยการฝากประจำ
สำหรับ วิธีบริหารเงิน ด้วยการฝากประจำนั้น ถือว่าเป็นทางเลือกยอดของการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอายุเพราะเทียบไม่มีความเสี่ยง เงินต้นอยู่ครบ แถมในปัจจุบันการเปิดบัญชีเงินฝากประจำนั้นสามารถทำง่าย มีให้เลือกหลายธนาคารและใช้เงินขั้นต่ำเพียงหลักพันบาทในการเปิดบัญชี นอกจากนั้นยังสามารถถอดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถนำเงินของตัวเองออกมาใช้ในยามฉุกเฉิน แต่ข้อเสียของการออมเงินด้วยการฝากประจำคือ ได้ผลตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนด้วยวิธีอื่นและถ้าถอนเงินก่อนครบสัญญาอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
12. สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เรียกว่าบริษัทใหญ่ ๆ เกือบทุกบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน ซึ่งข้อดีของการสมัครกองทุนไว้ในระหว่างทำงานจะช่วยให้เพิ่มวินัยในการออมเงินเพราะหักจากเงินเดือน นอกจากนั้นบางแห่งยังมีวงเงินกู้ฉุกเฉินไว้บริการ ทำให้มีสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันเวลา ส่วนข้อเสียส่วนใหญ่เป็นการหักโดยอัตโนมัติจากเงินเดือน ทำให้รายได้น้อยลงกว่าเดิม หากจัดการไม่ดีก็อาจทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย
13. ทำประกันสังคม
แน่นอนว่ามนุษย์เงินส่วนใหญ่ต้องทำประกันสังคมตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการประกันสังคมนั้นก็เพื่อเป็นกองทุนประกันสุขภาพในการรักษาพยาบาล เมื่อยามเจ็บไขได้ป่วยจะได้ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่หากสะสมส่งประกันสังคมไปจนถึงอายุ 55 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จรายเดือนเพื่อนำในการดำรงชีพ ส่วนข้อเสียนั้นแน่นอนว่าในอนาคตค่าใช้จ่ายมีแต่ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินรายเดือนที่ได้รับจากประกันสังคมอาจไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในอนาคต
14. ทำประกันชีวิต
อีกหนึ่งวิธีออมเงินที่มนุษย์เงินเดือนนิยมทำมากในปัจจุบัน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูง แถมสถาบันการเงินแห่งยังออกผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพเพิ่มเติมอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องแลกกับการส่งเบี้ยประกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในช่วง 5-15 ปี โดยไม่สามารถนำเงินออมส่วนนี้และผลตอบแทนมาใช้ก่อนครบสัญญาได้ ที่สำคัญห้ามผิดนัดการชำระเงินค่าเบี้ยประกันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆะทันที
15. ซื้อหุ้นเพื่อเกร็งกำไร
บอกก่อนเลยว่าการนำเงินมาซื้อหุ้นนั้นไม่ถือว่าเป็นการออมเงิน แต่เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้น โดยคนส่วนใหญ่มักเล่นหุ่นแบบซื้อมาขายไปเมื่อมีกำไร แต่ก็มีไม่น้อยที่เลือกถือหุ้นไว้ระยะยาวเพื่อรับเงินปันผลปลายปี อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าการลงทุนกับหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะหากไม่ความชำนาญอาจทำให้ขาดทุนได้
16. ซื้อพันธบัตรเก็บไว้
การซื้อพันธบัตรถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ได้รับความนิยมจากมนุษย์เงินเดือนมากเช่นกันในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย เงินต้นคงอยู่เหมือนเดิม แต่ได้ดอกเบี้ยแน่นอน ส่วนข้อเสียนั้นส่วนใหญ่สัญญาซื้อพันธบัตรมีระยะเวลาในการออมค่อยข้างนานอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไป ทำให้ไม่เหมาะสำหรับคนที่ยังมีภาวะทางการเงินไม่มั่นคง
17. นำเงินลงทุนในกองทุน
อีกหนึ่งการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง เพราะหากผู้บริหารกองทุนสามารถนำเงินทุนไปทำให้ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ มีเงินเก็บเข้าบัญชีเป็นจำนวนมาก แต่ถ้ามีความผิดพลาดบริหารจัดการไม่ได้ก็อาจก่อให้เกิดภาวะขาดทุนได้ เพราะฉะนั้นถ้าสนใจนำเงินมาลงทุนในกองทุน ควรศึกษาความเสี่ยงอย่างละเอียดและคำนึงไว้เสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
18. ซื้อสลากออมสินเก็บไว้
ต้องยอมรับว่าการซื้อสลากออมสินเป็นวิธีการออมเงินที่หลายคนเลือกใช้ ไม่ใช่แค่เหล่ามนุษย์เงินเท่านั้น เพราะนอกจากเงินต้นจะไม่หายแล้ว ยังได้รับเงินปั่นผล แถมได้ลุ้นเงินรางวัลด้วย เรียกว่าเป็นการลงทุนที่มีแต่ได้กับได้ ส่วนข้อเสียของการออมเงินด้วยวิธีนื้คือ ได้ผลตอบแทนน้อยหากไม่ถูกรางวัลเลย
19. ลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์
การลงทุนด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์เก็บไว้นั้นนับได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อรับผลประโยชน์เป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่ไม่ขาดทุน และถ้าเลือกทำเลดี ๆ ก็อาจทำให้ราคาขายดีดขึ้นเป็นเท่าตัว อย่างไรก็ตามข้อเสียของการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์คือ ใช้เวลานานกว่าจะขายได้และความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ เช่น นโยบายรัฐบาล เศรษฐกิจ สาธารณูปโภคข้างเคียง ราคาที่ดิน เป็นต้น
20. ซื้อที่ดินไว้เกร็งกำไร
เช่นเดียวกับลงทุนกับอสังริมทรัพย์ การซื้อที่ดินเก็บไว้ก็เป็นอีกหนทางการลงทุนหัวผลตอบเทนสูงในอนาคต เพราะหากอยู่ดี ๆ ที่ดินที่ซื้อไว้มีถนนตัดผ่านหรือเป็นที่ต้องการเพื่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ ก็อาจทำให้ราคาที่ดินตรงนั้นปรับตัวขึ้นหลายเท่าตัว แถมถ้าเป็นที่สนใจมาก ๆ อาจตั้งราคาขายเองได้โดยไม่ต้องสนใจราคาประเมิน แต่ข้อเสียก็เช่นเดียวกันคือ อาจต้องนำเงินจำนวนมากไปจมอยู่กับที่ดิน ดังนั้น วิธีบริหารเงิน ด้วยการซื้อที่ดินเก็บไว้จึงเหมาะสำหรับคนที่มีความมั่นคงทางการเงินเท่านั้น หากยังไม่มีเงินเก็บหรือมีหนี้สินที่ต้องชำระไม่ควรลงทุนกับของที่มีมูลค่ามาก
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อดีข้อเสียของ 20 วิธีบริหารเงิน ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ที่นำมาฝากกันในวันนี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะนำวิธีไหนไปปรับใช้กับการบริหารเงินของตัวเอง แนะนำว่าไม่ควรกดดันตัวเองในการเก็บออมเงินมากจนไป เพราะจะทำให้ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน