เชื้อไวรัสโคโรน่า เป็นไวรัสที่มีเปลือกเป็นไขมันหุ้ม (envelope virus) เป็นไวรัสชนิด RNA ขนาดใหญ่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ อย่างไรก็ตามแอลกอฮอล์เจลและสบู่สามารถฆ่าเชื้อได้
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า จากสัตว์สู่สัตว์ สัตว์สู่คน และ คนสู่คน ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าจากคนสู่คน มาจากละอองฝอยของเชื้อผ่านทางการไอ จาม เหมือนเชื้อกลุ่มไข้หวัดใหญ่ (Droplets transmission) หรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งแล้วมาสัมผัสบริเวณ จมูก ปาก ตา (Contacts transmission)
สังเกตตัวเองจากการเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
มีประวัติเดินทางกลับจากประเทศเสี่ยง หรือประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือมีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่ หากไม่มีให้ดูแลตัวเองตามปกติ เมื่อเจ็บป่วยสามารถไปรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อประเมินอาการได้ แต่หากมีอาการเจ็บป่วย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ก็รับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อประเมินอาการได้เช่นกัน และควรสังเกตอาการของตนเองภายใน 14 วัน
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ที่ีไม่มีอาการผิดปกติ
- สำหรับผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก จาม เจ็บคอ
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่แต่ยังไม่มีอาการ
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ สำหรับประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่ม่ีการระบาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเยื่อบุบริเวณใบหน้า (ตา จมูก ปาก) ด้วยมือที่ีไม่ได้ล้าง
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอลเ์จล (ประกอบด้วยแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60%) อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังไอ จาม ก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร
- การใส่หน้ากากอนามัย
องคก์ารอนามัยโลกและ CDC ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้แนะนำให้ผู้้ที่สุขภาพแข็งแรงใส่หน้ากากอนามัยในสถานการณ์ทั่วไป โดยแนะนำเฉพาะเมื่อต้องเป็นผู้ดูแลผู้ที่ม่ีอาการเจ็บป่วย
ประเทศไทยแนะนำเพิ่มให้ใส่หน้ากากอนามัยในกรณีที่มีีโอกาสสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
สำหรับผู้ที่ทำงานที่ม่ีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่น โรงพยาบาล สนามบิน คนขับรถ
มีโอกาสต้องไปอยู่ในที่ที่อาจใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น สถานที่แออัด
การล้างมือทั่วไป (Normal hand washing) ต้องใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวล้างมือและนิ้วมือให้สะอาด ใช้เวลาล้างมือประมาณ 15-30 วินาที เมื่อมีสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคบนมือ ซึ่งต้องมีอ่างล้างมือและผ้าเช็ดมือเพื่อเช็ดมือให้แห้งหลังล้างมือ
วิธีล้างมืออย่างถูกต้อง
- ถูฝ่ามือทั้งสองข้างและซอกนิ้วมือ
- ถูหลังมือทั้งสองข้าง
- ถูข้อนิ้วมือทั้งสองข้าง
- ถูนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
- ถูปลายนิ้วมือและร่องลายมือทั้งสองข้าง
- ถูข้อมือทั้งสองข้าง
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel handrub) ใช้แอลกอฮอล์เจลในการล้างมือและนิ้วมือให้สะอาด ใช้เวลาล้างมือประมาณ 15-20 วินาทีจนมือแห้งไปเอง ล้างเมื่อไม่มีสิ่งสกปรกบนมือ ไม่จำเป็นต้องมีอ่างล้างมือ ล้างที่ไหนก็ได้
จะเห็นว่าการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลสะดวกและฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้อีกด้วย แนะนำให้พกเจลล้างมือติดตัวไปทุกที่ และล้างมือบ่อยๆ
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก จาม เจ็บคอ
- ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพรก่ระจายเชื้อ
- เมื่อมีอาการไอหรือจามให้ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษชำระ แล้วทิ้งในถังขยะหรือถุงพลาสติก หลังจากนั้นล้างมือทุกครั้ง หากไม่มีกระดาษชำระให้ใช้ต้นแขนแทน
- ควรอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- ควรหยุดงาน/เรียนอย่างน้อย 7-14 วัน ขึ้นกับอาการหรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือแอลกอฮอล์เจลเป็นประจำ
- ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัส เช่น เตียง โต๊ะ ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฟอกขาว (5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน)
- การทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าอื่นๆ สามารถซักด้วยผงซักฟอกธรรมดา หรือด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60-90 องศาเซลเซียส
ชนิดของหน้ากากอนามัย
หน้ากากผ้า | หน้ากากอนามัย | หน้ากาก N95 | หน้ากาก N95 มีวาล์ว | |
ขนาดของสิ่งที่กรอง | > 10 ไมครอน ขึ้นกับชนิดของผ้า | > 5 ไมครอน | 0.3 ไมครอน กรองได้ 95% | 0.3 ไมครอน กรองได้ 95% |
การใช้งาน | หลายครั้ง | ครั้งเดียว | ครั้งเดียว อาจใช้ได้ 2-5 ครั้ง ขึ้นกับการใช้งาน | ครั้งเดียว อาจใช้ได้ 2-5 ครั้ง ขึ้นกับการใช้งาน |
ราคา | หลักหน่วย-สิบ | หลักหน่วย-สิบ | หลักสิบ-ร้อย | หลักร้อย |
แนะนำสำหรับ | ผู้ที่ไม่ป่วย
ต้องซักบ่อยๆ |
ผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ | บุคลากรทางการแพทย์ | บุคลากรทางการแพทย์ |
วิธีใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง
- ล้างมือให้สะอาด ก่อน-หลังสวมและถอดหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- จับสายคล้องหูทั้งสองข้าง
- สวมคลุมจมูกและปาก
- หันด้านสีเข้มออก เนื่องจากมีสารเคลือบกันละอองของเหลวป้องกันเชื้อโรค
- สีอ่อนอยู่ด้านใน เนื่องจากมีเยื่อบุแผ่นกรองขนาดเล็ก เพื่อป้องกันสารคัดหลั่งของผู้ใส่ไม่ให้ออกจากตัวเราสู่สิ่งแวดล้อม
- ดัดลวดให้แนบกับสันจมูกและใบหน้า
- ดึงขอบล่างให้คลุมใต้คาง
- กรณีมีการพูดจา สื่อสารกับบุคคลอื่น ควรพูดผ่านหน้ากาก
- เมื่อใช้หน้ากากอนามัยเสร็จแล้ว ควรถอดหน้ากากโดยปลดที่คล้องหูทีละข้าง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณกลางหน้ากาก เนื่องจากอาจมีส่วนของสารคัดหลังติดอยู่
- เมื่อใช้หน้ากากอนามัยเสร็จแล้ว ทิ้งหน้ากากอนามัยทันที แล้วล้างมือให้สะอาด
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรสัโคโรนา สายพันธุ์ใหม่แต่ยังไม่มีอาการ
เฝ้าระวังตนเอง อย่างน้อย 14วัน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์ โดยระหว่างเดินทางให้ใส่หน้ากากอนามัย เดินทางด้วยรถส่วนตัวและเปิดหน้าต่าง (หากเป็นไปได้) เมื่อไปถึงโรงพยาบาล ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามีประวัติเสี่ยงเพื่อที่จะได้แยกไปยังจุดคัดแยกโรคของแต่ละโรงพยาบาล
คำแนะนำนักศึกษาและสถานศึกษา เมื่อมีผู้เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
ก่อนเดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดหรือชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบูู่หรือแอลกอฮอล์เจล
- หากมีอาการป่วย ให้สวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์
หลังเดินทางกลับมายังประเทศไทย
- ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดกรองผู้เดินทางและมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข
- สังเกตอาการป่วยของตนเองภายใน 14 วัน หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์โดยให้สวมหน้ากากอนามัยและแจ้งประวัติการเดินทาง
- ควรงดออกไปในที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่จำนวนมาก
- งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
คำแนะนำระดับองค์กรหรือสถานศึกษา
- ให้ความรูู้้ คำแนะนำหรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงาน
- จัดหาแอลกอฮอล์เจล หรือสถานที่สำหรับล้างมือ บรเิวณทางเข้าต่างๆ และห้องน้ำ
- จัดให้มีการทำความสะอาดในพื้นที่ที่ใช้งานบ่อยๆ มากขึ้น เช่นประตู ลิฟท์ ์และแนะนำให้ทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ เช่น โต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ แลปทอป
- ควรมีห้องพยาบาลแยกกับผู้อื่น และมีเจ้าหน้าที่ีเพื่อประสานงาน และจัดทำบันทึกข้อมูลการป่วย และให้การ ดูแลรักษาเบื้องต้น รวมทั้งมีแนวทางการในการคัดแยกผู้ป่วยและส่งต่อ
- คัดกรองพนักงานก่อนทำงาน หากพบว่าป่วย ควรให้หยุดงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- หากมีผู้ป่วยจำนวนมากในสถานที่หนึ่ง ควรปิดการทำงานชั่วคราว
- พิจารณาเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมที่ต้องชุมนุมคนจำนวนมาก
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
- การรับสินค้าที่ส่งมาจากประเทศจีน มีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จากการศึกษาก่อนหน้า พบว่าไวรัสโคโรน่าไม่สามารถมีชีวิตอยู่บนสิ่งของได้นาน
- ยังไม่มีข้อมูลว่าไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อยู่บนสิ่งแวดล้อมได้นานแค่ไหน
ซึ่งข้อมูลของเชื้อไวรัสเมอร์ เป็นไวรัสโคโรน่าอีกสายพันธุ์หนึ่ง พบว่าเชื้อไวรัสนี้ อยู่บนพื้นผิวโลหะได้ 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 20 องศสเซลเซียส และความชื้น 40% และอยู่บนพื้นผิวของโลหะได้ ้8-24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส
แต่หากอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีชีวิตสั้นลง เชื้อไวรัสนี้ถูกทำลายเมื่อโดนความร้อน รังสีอัลตราไวโอเลต น้ำยาทำความสะอาด และถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์ 62-70% ภายใน 1 นาที
- มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสโคโรน่าในอุจจาระและอาจจะมีโอกาสแพร่จากอุจจาระได้ ดังนั้นเวลากดชักโครกควรปิดฝาชักโครก และล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
- ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า สัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) สามารถติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ แต่การล้างมือหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเสมอ เนื่องจากการล้างมือสามารถป้องกันแบคทีเรียอื่นๆ ได้ และควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิต
- วัคซีนป้องกันปอดอักเสบไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ ขณะนี้วัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่ากำลังอยู๋ระหว่างการพัฒนา อย่างไรก็ตามวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสล้วนมีประโยชน์ต่อเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- การล้างจมูกหรือบ้วนปากไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้
ไวรัสโคโรน่าทำให้เกิดการเสียชีวิตได้จากการที่เชื้อไวรัสที่ไปทำลายเนื้อปอด แม้จะรักษาให้หายจากไวรัส แต่หากเชื้อไวรัสทำลายเนื้อปอดไปมากก็ยังมีโอกาสเสียชีวิตอยู่ดี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยติดเชื้อจากการสัมผัส ดังนั้นการป้องกันที่สามารถทำได้คือการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เพื่อกำจัดไขมันที่หุ้มไวรัส เมื่อทำลายไขมันทำให้ไวรัสตาย และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด สัมผัสสิ่งของโดยไม่จำเป็น พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว หากสงสัยสามารถเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อประเมินอาการได้เลย ที่สำคัญอย่าตื่นตระหนกจนเกินไปและติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถืออยู่เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก เวทีจฬุาฯเสวนา ครั้งที่ 23 เรื่อง “ตระหนักดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกันโคโรนาไวรัส 2019”
สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..