เปลี่ยนมือใหม่ให้เป็นโปร ด้วยขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ

ในอดีตการทำเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ศึกษาหรือเล่าเรียนมา เพราะการทำเว็บเมื่อก่อนจะต้องอาศัยการใช้ code ที่เรียกว่าภาษา HTML ที่เป็นภาษาสำหรับเขียนเว็บไซต์หรือใครถนัดก็สามารถใช้ภาษา PHP ตามแต่ฟังก์ชั่นการใช้งานของเว็บไซต์นั้น ๆ      จึงทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนมา แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาตัวช่วยในการทำเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายสำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์เป็นของตนเองหรือแม้แต่ทำเพื่อการค้าออนไลน์ออกมาให้พ่อค้าแม่ค้านักธุรกิจออนไลน์ได้ใช้กัน ซึ่ง การสร้างเว็บไซต์ สำหรับร้านค้าออนไลน์ง่ายมากเพียงแต่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่จะกล่าวถึงนี้ก็สามารถที่จะเปิดร้านค้าออนไลน์ได้แล้ว

1. วางแผนและกำหนดขอบเขต

ในขั้นตอนแรกที่นักทำเว็บไซต์จะต้องทำคือ จัดเตรียมข้อมูลสำหรับทำเว็บไซต์, เนื้อหาภายใน, ชื่อเว็บไซต์, กลุ่มเป้าหมาย, หัวข้อแยกย่อย, รายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงรูปภาพที่จะใช้ในการนำเสนอ ซึ่งจะต้องเป็นรูปที่ไม่ติดลิขสิทธิ์หากเป็นไปได้แนะนำให้ถ่ายเอง เพื่อที่จะไม่มีปัญหาในภายหลัง การแบ่งเนื้อหาเพื่อให้ครอบคลุมกับเว็บไซต์

2. ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์

เมื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในการทำเว็บแล้ว ต่อไปก็ต้องวางแผนในการทำเว็บและโครงสร้างของเว็บไซต์ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของเว็บ กำหนดหน้า Home หรือ Index ที่ใช้เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์, Product ไว้สำหรับโชว์รูปภาพหรือรายละเอียดของสินค้า ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะเรียกว่า Flowchart เพื่อให้ง่ายต่อการเรียงลำดับการเรียกใช้งานของเว็บไซต์ โดยในหน้าแต่ละเพจจะต้องกำหนดชื่อให้เป็นภาษาอังกฤษตามด้วยนามสกุลของภาษาโปรแกรมที่ใช้งาน เช่น Home.html, Index.php, ContactUs.htm ฯลฯ

3. ออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้า

เมื่อได้ขอบเขตและโครงสร้างของเว็บไซต์แล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนในการออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ว่าจะให้สวยงามอย่างไร การวาง Layout หน้าตาในแต่ละเพจ กำหนดรูปหรือข้อความที่จะใส่ลงไปเพื่อสื่อสารกับผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งการออกแบบเพจแต่ละหน้ามีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ

  • ส่วนหัวของเพจ คือส่วนที่อยู่บนสุดในหน้าเพจนั้น ๆ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะในส่วนนี้จะใช้โชว์รูปภาพกราฟิกที่สวยงามหรือจะเป็นโลโก้ของบริษัท ใช้เป็นลิงก์ในการเชื่อมต่อหน้าเพจอื่น ๆ ให้ลิงก์มาหา
  • ส่วนเนื้อหา คือส่วนที่อยู่ตรงกลางของหน้าเพจ ที่ใช้แสดงข้อความหรือเนื้อหาของเว็บไซต์นั้น ๆ วีดีโอ รูปกราฟิกสวย ๆ ข้อมูลมีความกระชับไม่ยืดเยื้อมากเกินไป ใช้รูปแบบตัวหนังสือที่อ่านง่าย สบายตา
  • ส่วนล่างสุดของเพจ คือส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของเพจ ที่ตรงนี้ส่วนใหญ่จะเอาไว้แปะลิงก์ในการนำทาง แสดงคำแนะนำการใช้เว็บหรือข้อความแสดงลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

4. การสร้างเว็บเพจ

หลังจากที่ออกแบบหน้าเพจแต่ละหน้าแล้วก็ถึงเวลาใน การสร้างเว็บไซต์ ขึ้นมาเสียทีว่าที่ได้ออกแบบไว้รวมถึงข้อมูลที่จัดเตรียมมาจะสวยงามเพียงใด ซึ่งการสร้างเว็บก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ทำเว็บเองว่าจะใช้วิธีการแบบใด ไม่ว่าจะเป็นภาษา PHP, HTML หรือแม้แต่ WordPress ที่ใช้งานได้ง่าย พร้อมธีมสำเร็จรูปที่สวยงามมีทั้งของฟรีและเสียเงินที่สามารถ Download ไปใช้งานได้ง่าย ๆ

5. สร้างการเชื่อมโยงเว็บเพจ

เมื่อสร้างหน้าเว็บเพจได้ครบทุกหน้าแล้วต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอีกขั้นตอนหนึ่ง เนื่องจากเมื่อสร้างเพจแต่ละหน้าขึ้นมาแล้วจะต้องทำชุดเชื่อมลิงก์ให้เว็บสามารถลิงก์ถึงกันได้ เพราะหากไม่สามารถทำเชื่อมถึงกันได้แล้วเมื่อมีคนคลิกเข้าไปก็จะเจอข้อความ Page not Found ซึ่งเป็นค่า error ที่เป็นค่ามาตรฐานของ Web Server ที่จะแสดงขึ้นมาเมื่อไม่สามารถค้นหาหน้าเพจที่ต้องการไปได้ ตรงจุดนี้ต้องทำและทดสอบการเชื่อมโยงให้ดีที่สุด

6. เช่าพื้นที่เว็บไซต์

เมื่อทดสอบเว็บไซต์ภายใต้ Web Server จำรองแล้ว ต่อไปจะเป็นการใช้งานบนเว็บไซต์จริง ๆ ด้วยการขอเช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือจะเรียกว่า Host (โฮส) พร้อมจดทะเบียนโดเมนเนมและลงชื่อของเว็บไซต์ที่จะตั้งขึ้นมา ซึ่งจะมีทั้งของฟรีและเสียเงิน ณ ตรงนี้หากต้อง การสร้างเว็บไซต์ เพื่อทำธุรกิจส่วนตัวขอแนะนำเลือกใช้บริการแบบเสียเงิน ซึ่งจะมีราคาให้เลือกตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการเช่า โดยในแต่ละ Host จะมีเครื่องมือในการทำเว็บให้เลือกใช้มากมาย ก็ลองพิจารณาและหาข้อมูลดู ตรวจสอบในเรื่องของการ Support ภาษาที่เว็บออกแบบมาด้วย เพราะบาง Host ไม่สนับสนุนการใช้งานภาษา php เป็นต้น

7. Upload ข้อมูลขึ้น Server จริง

หลังจากที่ได้ลงทะเบียนโดเมนเนม ชื่อเว็บไซต์และพื้นที่ในการทำเว็บไซต์แล้ว ก็ถึงเวลาถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเว็บไซต์ขึ้นไปบน Server Web Hosting ของจริงเสียที ด้วยการทำผ่านโปรแกรม Filezilla, WinSCP, WordPress เป็นต้น เพื่อให้ผู้คนทั่วไปสามารถคลิกเข้าไปดูเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

8. การเรียกใช้งานเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมา

เมื่อทำการอัพโหลดข้อมูลต่าง ๆ ที่สร้างเว็บไซต์ทั้งหมดขึ้นไปบน Web Server เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการเรียกใช้งานเว็บเพื่อดูเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Chrome, IE, Firefox ตามแต่ความชอบและความถนัดของแต่ละคนได้เลย โดยการใส่ที่อยู่เว็บไซต์ผ่าน Address Bar แล้ว Enter ก็สามารถเรียกดูเว็บได้แล้ว

จะเห็นได้ว่า การสร้างเว็บไซต์ ในปัจจุบันไม่ยากเลยสำหรับมือใหม่หัดทำเว็บ เนื่องจากมีโปรแกรมหลากหลายที่เป็นแบบสำเร็จรูปให้เลือกใช้งาน เพียงแต่ต้องรู้จักวางแผนในการออกแบบเว็บไซต์รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจ การใส่ลูกเล่น เอฟเฟคให้เว็บไซต์เพื่อดึงดูดผู้เข้ารับชม แต่ต้องไม่เยอะจนเกินไปเพราะจะทำให้การทำงานของเว็บนั้นช้าลง  สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore

GPS Tracking คือ