ภาษีรถ

เรื่องใกล้ตัวกับภาษีรถ

ปัจจุบันในประเทศไทยในแต่ละครอบครัวจะต้องมีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไว้ใช้งานอย่างน้อยครอบครัวละ 1 คัน ยังไม่นับรวมของคนที่กำลังจะมีแผนที่ซื้อรถเพิ่ม เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการในการใช้งานตามกำลังซื้อของแต่ละคน จากสถิติของกรมการขนส่งทางบก มีจำนวนรถที่จดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 ทุกประเภททั้งหมด 39,908,492 คัน ทำให้ในแต่ละปีเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำการต่อทะเบียนรถและเสีย ภาษีรถ ในแต่ละปีมีปริมาณที่สูงมาก หากเทียบปริมาณจำนวนรถกับจำนวนวันที่ต้องไปเสียภาษีในแต่ละวันจะมีรถต้องเสียภาษีเฉลี่ยวันละ 109,000 คันโดยประมาณ ซึ่งมีปริมาณที่สูงมาก เจ้าของรถจะต้องวางแผนในการเสียภาษีรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องศึกษาว่าการไปเสียภาษีแต่ละครั้งต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรในการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายอะไร เพื่อให้ประหยัดเวลาและไม่อารมณ์เสียที่ต้องเสียเวลาไปต่อทะเบียน เมื่อเอกสารต่าง ๆ ไม่พร้อม

วางแผนและหาข้อมูล

ในอดีตการต่อ ภาษีรถ สามารถทำได้ล่วงหน้า 30 วัน แต่เนื่องด้วยปัจจุบันมีปริมาณการใช้งานรถที่เยอะขึ้นทำให้ทางราชการต้องวางแผนและออกกฎระเบียบใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานของประชาชนที่ใช้รถ ด้วยการกำหนดให้สามารถต่อภาษีและทะเบียนรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ทำให้เจ้าของรถวางแผนในการไปเสียภาษีได้ หากแต่ในปัจจุบันเมื่อมีการซื้อรถผ่านบริษัทไฟแนนซ์ทางไฟแนนซ์จะอำนวยความสะดวกโดยการต่อภาษีและทะเบียนให้เมื่อใกล้ถึงเวลา เพียงแต่เจ้าของรถเตรียมจำนวนเงินให้พร้อม แต่เมื่อครบกำหนดการผ่อนชำระค่างวดรถแล้วเจ้าของรถจะต้องดำเนินต่อภาษีเอง จึงทำให้ต้องวางแผนและหาข้อมูลในการไปต่อทะเบียน เพราะหากเป็นมนุษย์เงินเดือนจะไม่สามารถลางานได้บ่อย ๆ นัก ก่อนจะต้องต่อทะเบียนรถจึงควรศึกษาและหาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย เพื่อลดเวลาการหาเอกสารที่จะใช้งานในวันจริงและไม่ให้อารมณ์เสียได้ โดยมีเอกสารที่ต้องจัดเตรียมได้แก่

  • หากเป็นรถจักรยานยนต์มีอายุ 5 ปีขึ้นไปและรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไปนับจากปีที่จดทะเบียนจะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพตามศูนย์บริการที่มีเครื่องหมายรับรองในการตรวจสภาพรถ พร้อมรับเอกสารยืนยัน การตรวจสภาพรถจากศูนย์บริการนั้น
  • เอกสารประกันภัยรถภาคบังคับหรือ พ.ร.บ.รถ
  • สมุดทะเบียนรถ
  • เงินค่าภาษี จำนวนมากหรือน้อยขึ้นกับประเภทของรถ

จะเห็นได้ว่าหากเจ้าของรถที่ไม่ทราบข้อมูลในการต่อภาษีและทะเบียนจะทำให้ต้องเสียเวลาในการทำงานที่ต้องไปดำเนินการ โดยเฉพาะการไปตรวจสภาพรถเมื่อครบอายุที่กำหนด หากไม่ทราบแล้วไปต่อทะเบียนก็จะโดนเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งปฏิเสธที่จะต่อทะเบียนให้ ทำให้ต้องเสียเวลาไปตรวจสภาพรถเพื่อเอาเอกสารยืนยันการตรวจสภาพรถไปใช้ในการเสียภาษี หากไม่ทันใน 1 วันทำการก็จะต้องเสียเวลาลางานไปต่อทะเบียนรถอีก

ค่าใช้จ่ายด้านภาษีที่ต้องรู้

เมื่อทราบถึงข้อมูลที่ต้องใช้เอกสารในการต่อภาษีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ควบคู่กันไปด้วยและสำคัญมากคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการต่อภาษี เพื่อจะได้วางแผนการเงินได้ถูกต้องไม่กระทบต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการอยากจะมีรถไว้ใช้ขับเพื่อความสะดวกสบายแล้วจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาค่าใช้จ่ายเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนการตัดสินใจซื้อรถมาไว้ใช้งาน

อัตราการจัดเก็บภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีดังนี้

  • 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
  • 601 – 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800 ซีซี ซีซีละ 4.00 บาท

และเมื่อรถยนต์มีการจดทะเบียนมาแล้ว 5ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีดังนี้

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีและค่าต่อทะเบียนประจำปีมีค่าใช้จ่ายตามจำนวนซีซีของขนาดเครื่องยนต์จึงจำเป็นให้มนุษย์เงินเดือนหรือบุคคลทั่วไป จะต้องวางแผนการเงินให้ดีเมื่อคิดที่จะซื้อรถยนต์ ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก เช่น ค่าประกันภัยรถยนต์, ค่าประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถ)ที่มีผลต่อเงินในกระเป๋าของคนที่จะซื้อรถอีกด้วย

ต่อภาษีล่าช้าหรือไม่ทันตามกำหนดมีผลอย่างไร

ถึงแม้ว่าภาครัฐจะอนุญาตให้ต่อ ภาษีรถ ได้ล่วงหน้าถึง 90 วัน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ยังมีเจ้าของรถบางคนที่ไม่สามารถดำเนินการเสียภาษีได้ตรงตามเวลาได้ เนื่องจากปัญหาทางการเงินโดยเฉพาะมนุษย์เงินที่อาจวางแผนการเงินผิดพลาดได้ เพราะนอกจากจะมีค่างวดรถที่ต้องจ่ายประจำเดือนในปริมาณที่สูงแล้วยังมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ต้องดูแลอีกมาก ทำให้หมุนเงินไม่ทันเมื่อครบกำหนดที่ต้องเสียภาษีประจำปี อีกทั้งค่าประกันภัยรถยนต์ประจำปีอีกด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการเงินให้ถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากหลงลืมหรือละเลยการจ่ายภาษีประจำปีไปจะทำให้เสียค่าปรับ เมื่อดำเนินการต่อภาษีย้อนหลังและในขณะเดียวกันหากนำรถที่ขาดต่อทะเบียนแล้วไปใช้งานก็จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับและปรับในอัตราโทษที่สูง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินประสบปัญหามาก

เพื่อความสบายใจในการใช้รถให้ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าของรถทุกท่านจะต้องวางแผนเกี่ยวกับ ภาษีรถ ตั้งแต่ก่อนการซื้อรถใหม่ เพราะไม่เพียงแต่จะมีค่างวดรถที่จะต้องจ่ายไปให้กับไฟแนนซ์เท่านั้น ในแต่ละปีจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมบำรุงตามระยะทาง, ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, ค่าประกันภัยรถยนต์ประจำปี, ค่า พ.ร.บ. ประจำปี ฯลฯ เมื่อใดที่เจ้าของรถละเลยที่จะต้องเสียภาษีประจำปีก็จะทำให้เจ้าของรถมีความยุ่งยากในการใช้งานรถเพิ่มขึ้นมากอีก เพราะการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชนชนทุกคน เพื่อที่รัฐจะได้นำไปใช้พัฒนาสังคมได้ดียิ่งขึ้น สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore

เปิดร้านกาแฟ