ฝากออมทรัพย์กับธนาคารใดได้ เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561

ปัจจุบันการฝากเงินออม เป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะถือว่าเป็นการออมเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ช่วยให้ทุกคนมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายตามความจำเป็นต่าง ๆ  โดยเพื่อความคุ้มค่าควรเปรียบเทียบประเภทของการออมเงินรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ออมทรัพย์เพิ่มค่าทันใจ

1.8%ดอกเบี้ยต่อปี 100,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์

1.6%ดอกเบี้ยต่อปี 0 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 0 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีออมทรัพย์ เคเค สมาร์ท เกน

1.5%ดอกเบี้ยต่อปี 50,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีออมทรัพย์ เคเค สมาร์ท มิลเลี่ยน

1.35%ดอกเบี้ยต่อปี 0 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ อีซี่

1.2%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ

1%ดอกเบี้ยต่อปี 50,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมเงิน ออมธรรม

1%ดอกเบี้ยต่อปี 100 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 20 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ

0.9%ดอกเบี้ยต่อปี 1,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 20 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์ Ultra Saving

0.8%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

0.75%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์

0.625%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้

0.6%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีออมทรัพย์ ทั่วไป

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ออมทรัพย์

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 1,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากจัดเต็ม

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากประจำดอกเบี้ยดี

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 9,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์ เอ็กซ์ตร้า เซฟวิ่งส์

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 10,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่

0.5%ดอกเบี้ยต่อปี 1 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 20 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีออมทรัพย์ ซีไอเอ็มบี ไทย สมาร์ทพอยต์

0.4%ดอกเบี้ยต่อปี 0 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์

0.4%ดอกเบี้ยต่อปี 1,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

เงินฝากออมทรัพย์ สปีดเซฟวิ่ง

0.4%ดอกเบี้ยต่อปี 100,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป

0.3%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชียูโอบี มาย คิดส์

0.25%ดอกเบี้ยต่อปี 1,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 100 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากจากใจ

0.25%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ออมทรัพย์ TISCO My Saving

0.25%ดอกเบี้ยต่อปี 0 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ออมทรัพย์มีระดับ

0.2%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ทีเอ็มบี เซฟวิ่ง แคร์

0.125%ดอกเบี้ยต่อปี 5,000 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์จัดให้

0.1%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาทค่ารักษาบัญชี

ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี

0%ดอกเบี้ยต่อปี 500 บาทเปิดบัญชีขั้นต่ำ 50   บาทค่ารักษาบัญชี

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561

 

1.บัญชีออมทรัพย์คืออะไร

“บัญชีออมทรัพย์” สามารถอธิบายอย่างง่ายได้ว่าคือ บัญชีที่สามารถนำเงินเข้าไปฝากได้ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาของการฝาก ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งที่ใช้เพื่อการฝากถอน และหลายคนอาจคุ้นเคยดีว่าบัญชีออมทรัพย์คือบัญชีที่ใช้งานร่วมกับบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิตบัตรที่สามารถใช้รูดซื้อสินค้าได้ในตัว โดยหักเงินจากบัญชีแบบอัตโนมัติ (เป็นลักษณะของบัตรที่ไม่ได้บังคับให้ใช้นะครับ) นอกจากยังเป็นบัญชีที่สามารถใช้บริการอื่น ๆ ของธนาคาร อย่างการหักบัญชีอัตโนมัติเพื่อชำระค่าใช้จ่ายตามต้องการ บัญชีประเภทนี้มีกำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำไม่สูงนัก เริ่มที่ 500 บาทก็สามารถเปิดบัญชีได้แล้ว แต่ผลตอบแทน (หรือก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก) จะต่ำตามไปด้วย หรือคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันครับ

2. บัญชีออมทรัพย์แบบพิเศษมีลักษณะอย่างไร

บัญชีออมทรัพย์แบบพิเศษ คือบัญชี เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561 ที่มีเงื่อนไขพิเศษ เพื่อดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย เงื่อนไขสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือจำนวนเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท หรืออาจกำหนดให้เงินฝากขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 บาท พร้อมข้อจำกัดในการเบิกถอนเงินในแต่ละครั้ง เช่น เบิกถอนได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อเดือน เป็นต้น และเงื่อนไขของ เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561 อาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษจะระบุค่าธรรมเนียมในการถอนเงินฟรี 2 รายการแรกต่อเดือน แต่รายการต่อไปจะมีค่าธรรมเนียม 500 บาทต่อครั้ง อันเป็นนโยบายเฉพาะของแต่ละธนาคารครับ

3. บัญชีออมทรัพย์เหมาะกับใครบ้าง

จุดเด่นของบัญชีออมทรัพย์คือ สภาพคล่องทางการเงิน เพื่อนๆ สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกี่ครั้งก็ได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียม (ยกเว้นกรณีกดเงินผ่านบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งการกดข้ามจังหวัด หรือเกินจำนวนครั้งที่กำหนด จะมีค่าธรรมเนียมตามนโยบายของธนาคารนั้น ๆ) ดังนั้นบัญชีออมทรัพย์ จึงเหมาะกับการใช้ทำธุรกรรมทางเงินบ่อย ๆ อย่าง การรับเงินเดือน เงินที่ต้องใช้จ่ายประจำเดือน แต่ดอกเบี้ยเงินฝากจะค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับเงินฝากประเภทอื่น ๆ จึงไม่เหมาะกับการเก็บออมเงิน เพราะผลตอบแทนอาจไม่ทันกับอัตราเงินเฟ้อรับ

4. การจ่ายดอกเบี้ยของบัญชีออมทรัพย์มีลักษณะอย่างไร

กรณีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยแบบรายวัน โดยสะสมยอดเอาไว้และจ่ายให้กับเจ้าของบัญชี ปีละ 2 ครั้งครับ โดยมากจะจ่ายเข้าบัญชีตอนสิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี

 

5. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่

กรณีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์ที่รวบรวมจากทุก ๆ บัญชีของธนาคารแห่งเดียวกันมากกว่า 20,000 บาทในปีนั้น ธนาคารจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไป 15%
กรณีมีบัญชีออมทรัพย์หลายธนาคารและมีดอกเบี้ยจากทุก ๆ แห่งมากกว่า 20,000 บาทในปีนั้น ผู้ฝากต้องแจ้งแก่ธนาคารที่จ่ายดอกเบี้ย เพื่อดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

6. วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

เพื่อให้เพื่อน ๆ เกิดความเข้าใจในการคำนวณดอกเบี้ย เงินฝากที่จะได้รับอย่างถ่องแท้ เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561 พี่หมีขอยกตัวอย่างวิธีคำนวณมาให้พิจารณาดังนี้ครับ

วันที่ 1 มกราคม นาย ก. ได้ฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารแห่งหนึ่ง เป็นเงิน 10,000 บาท ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากอัตราร้อยละ 2 ต่อปี มีกำหนดการจ่ายดอกเบี้ยในทุก ๆ 6 เดือน คือวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี (สมมติให้ในปีที่คำนวณเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) ดังนั้น หากนาย ก. ฝากเงินเอาไว้ 10,000 บาท ทั้งปีคือ 365 วัน โดยไม่มีถอนหรือฝากเพิ่ม และไม่ได้นำดอกเบี้ยออกมาใช้ในระหว่างปี ดอกเบี้ยที่นาย ก. จะได้รับคือ

เดือนมิถุนายนมียอดเงินในบัญชีรวมดอกเบี้ย = 10,000 + (10,000 × 2% × 180 / 365) = 10,098.63

เดือนธันวาคมจะมียอดเงินในบัญชีรวมดอกเบี้ย = 10,098.63 + (10,098.63 × 2% × 184 / 365) = 10,200.45

ดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ที่ นาย ก. จะได้รับในปีนั้นคือยอดเงินในบัญชีออมทรัพย์ของวันที่ 31 ธันวาคมหักยอดเงินฝากเมื่อวันที่ 1 มกราคม = 10,200.45 บาท – 10,000.00 บาท หรือเท่ากับ 200.45 บาท

แต่หาก นาย ก. ไม่ได้ถอนเงินต้นและดอกเบี้ยออกมา เงินฝากดังกล่าวจะยังคงต่อเนื่องไปในปีถัดไปเพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยในปีถัดไปอีกเท่ากับ 10,200.45 บาท

หมายเหตุ: ธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินฝากที่ 364 วันเท่านั้น โดยไม่คิดดอกเบี้ยของวันสุดท้ายของปีหรือวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากงวดสุดท้ายของปีนั้น ๆ การคำนวณด้านบนจึงแสดงให้เห็นว่าดอกเบี้ยเงินฝากครึ่งปีแรก จะคูณจำนวนวันคือ 180 วันและเป็น 184 วันในครึ่งปีหลัง รวมเป็นวันที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทั้งหมด 364 วันครับ

7. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเปิดบัญชี เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561

การเปิดบัญชีออมทรัพย์ มีรายละเอียดที่ควรรู้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ดังนี้ครับ

  • ความพร้อมของเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชน ทำสำเนาและขีดคร่อมเขียนว่า “ใช้เพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากเท่านั้น” เพื่อป้องกันการสวมรอยของผู้อื่น
  • ไม่รับจ้างเปิดบัญชีเงินฝากแทนผู้อื่นเด็ดขาด เพราะถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษทั้งจำและปรับ
  • การเก็บรักษาสมุดเงินฝาก / บัตรเอทีเอ็ม / บัตรเดบิต / บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในที่ ๆ ปลอดภัย
  • ปรับยอด เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2561 อยู่เสมอ
  • แจ้งธนาคารทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ในการติดต่อ อีเมล์และเบอร์โทรศัพท์
  • หากได้รับการเตือนว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นไม่มีการเคลื่อนไหว ให้รีบทำธุรกรรม (ฝาก / ถอน / โอน) หรือปิดบัญชีไปเลย เพื่อจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาบัญชี

ธนาคารจะแนะนำให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพื่อทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตควบคู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งการฝาก ถอน โอนเงิน ซื้อสินค้าระบบออนไลน์หรือรูดซื้อสินค้าตามร้านค้าปกติ แต่ในความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตพ่วงก็ได้ เพราะนี่คือกลยุทธ์ในการขายพ่วงผลิตภัณฑ์ของทางธนาคารเท่านั้นและเมื่อทำบัตรเหล่านั้น ก็จะเกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ อย่างค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือรายปี ตามที่แต่ละธนาคารกำหนด ดังนั้นหากเห็นว่าไม่จำเป็น ก็สามารถปฏิเสธไม่ทำบัตรต่าง ๆ ได้ครับ สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore