ข้อกำหนด GPS ของกรมขนส่ง

ข้อกำหนดเกี่ยวกับ GPS กรมขนส่ง

ด้วยความสำคัญของระบบติดตามรถยนต์ GPS สู่การนำมาบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังจะเห็นได้จากข้อมูลในอดีตเรื่องการเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์โดยสารสาธารณะจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2558  ที่มีมากถึง 845 ครั้งและหลังจากประกาศของกรมขนส่งทางบกให้บังคับใช้ระบบ GPS มีอุบัติเหตุกับรถโดยสารขนาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2559 796 ครั้ง และ692 ครั้งในปี พ.ศ. 2560 ตามลำดับ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า GPS มีส่วนช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ถึง 18.10% เมื่อเทียบจากปี 2558 กับ 2560 ส่งผลให้เกิดมาตรฐานการบังคับใช้เป็นกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการขนส่งและจากประกาศล่าสุดของกรมขนส่งทางบกได้ระบุว่า รถโดยสารและรถบรรทุกขนาด 10ล้อเป็นต้นไป จะต้องติดตั้งระบบ GPS Tracking แบบเรียลไทม์ภายในปี พ.ศ. 2562 ทุกคันและรถประเภทไหนบ้างที่เข้าข่ายในการบังคับใช้กฎหมายนี้ ถ้าอย่างนั้นไปทำความเข้าใจตัว กฎหมายGPS กรมขนส่ง ที่ว่านี้พร้อมกันเลยครับ

มีรถประเภทไหนบ้างที่บังคับใช้ GPS

กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศกำหนดให้รถที่ใช้ขนการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนสัตว์หรือสิ่งของต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง (GPS) ได้แก่รถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ 2ชั้น ทั้งที่ประจำทางและไม่ประจำทาง รถยนต์โดยสารหมวด1 หมวด2 หมวด3 และหมวด4 ยกเว้นรถที่มีการจัดที่นั่งโดยสารแบบสองแถว รถตู้โดยสารสาธารณะ รถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 10 ล้อเป็นต้นไป ที่มีการจดทะเบียนใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559 จะต้องมีการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS) พร้อมข้อมูลการเดินรถจะต้องเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS กรมขนส่ง

นอกจากประเภทของรถที่จะต้องดำเนินการติดตั้ง GPS แล้วบริษัทที่รับติดตั้งก็มีส่วนสำคัญโดยจะต้องขอหนังสือรับรองการตรวจสอบและรับรองคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ณ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก หากผลการตรวจสอบระบบ GPS ผ่าน ทางกรมการขนส่งทางบก ก็จะออกหนังสือรับรองให้กับบริษัทที่รับติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง (GPS) ว่าเครื่องที่ใช้งานรวมถึงบริษัทที่ติดตั้งผ่านการตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางบก โดยรายละเอียดของข้อมูลที่จะจัดเก็บในกับกรมการขนส่งทางบก มีดังนี้

คุณสมบัติเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ และผู้ให้บริการระบบติดตามรถ

เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินรถจะต้องทำงานผ่านระบบโคร่งข่ายคมนาคมต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีระบบบันทึกและส่งข้อมูลการใช้งานของรถซึ่งต้องสามารถบันทึกและส่งข้อมูลดังนี้ ตำแหน่งของรถพิกัดบนพื้นโลกในแนวราบคลาดเคลื่อนไม่เกิน 20เมตร ความเร็วของรถมีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง วันเวลาที่บันทึก ชื่อนามสกุลผู้ขับขี่หรือใบอนุญาตที่สามารถชี้บ่งว่าเป็นผู้ขับรถจริง
  • มีระบบส่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (Real Time)
  • มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งานของรถไว้ที่เครื่องไม่น้อยกว่า 24ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้
  • มีระบบชี้บ่งผู้ขับขี่
  • เครื่องบันทึกต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน

สาเหตุสำคัญที่กรมการขนส่งทางบก บังคับใช้ให้ติดตั้งระบบ GPS ก็เพื่อให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านขนส่งได้ติดตามพฤติกรรมการใช้รถของพนักงานอย่างถูกต้องและสร้างมาตรฐานการใช้รถใช้ถนนให้เกิดความปลอดภัยกับทุก ๆ คนที่สัญจรไปมาทางท้องถนน ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุที่มีบ่อยครั้ง รวมถึงสามารถตรวจสอบประวัติของพนักงานขับรถว่าเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างไรหรือเคยต้องคดีในอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถหรือไม่ นอกจากนั้นการติดตั้ง GPS กรมขนส่ง ก็จะได้ข้อมูลในการบริหารจัดการด้านขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

หลายคนอาจสงสัยว่ารถของตนเองจำเป็นจะต้องเข้ารับการติดตั้งระบบ GPS หรือไม่

ปัญหาดังกล่าวมีวิธีตรวจสอบง่าย ๆ คือ รถยนต์ของท่าน..

  • เป็นรถยนต์ประเภทรถโดยสารขนาดใหญ่ รถตู้โดยสารสาธารณะหรือไม่? (ยกเว้นรถสองแถวหรือรถลากจูง)
  • เป็นรถบรรทุกขนาด 10 ล้อขึ้นไปหรือไม่?

หากใช่ตามที่กล่าวมา ท่านจะต้องรีบเข้ารับการติดตั้งระบบ GPS กรมขนส่ง จะได้เครื่องหมายรับรองพร้อมทั้งหนังสือรับรองการการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการยื่นเอกสารตรวจสภาพรถและดำเนินการต่อทะเบียนประจำปี ต่อไป เพราะหากท่านเจ้าของรถที่กล่าวมาข้างต้นไม่ขอรับการติดตั้ง GPS หรือเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินรถ นอกจากจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถประจำปีได้แล้ว หากมีการตรวจจับจากทางเจ้าที่ตำรวจ รถของท่านก็จะถูกจับพร้อมเสียค่าปรับ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของกรมการขนส่งทางบกอีกด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับ GPS กรมขนส่ง หลาย ๆ ท่านอาจมองดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนหลาย ๆ กลุ่มมากทั้งเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก พนักงานขับรถบรรทุกโดยสาร เจ้าของธุรกิจขนส่งและโดยสาร ท้ายสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้จะสามารถทำให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถโดยสารสาธารณะทุกชนิดที่กล่าวมา ผู้ขับขี่ก็จะมีความระมัดระวังกันมากขึ้น การเกิดอุบัติเหตุก็จะลดลง ดังที่ได้แสดงสถิติการเกิดอุบัติเหตุในปีที่ยังไม่บังคับใช้กับปีที่มี ผลของการเกิดอุบัติเหตุลกลงได้มาก หากเจ้าของกิจการรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะ ยินดีติดตั้งระบบ GPS กรมขนส่ง ก็จะได้มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้รถ ประวัติผู้ขับขี้ ไว้ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อวางแผนในการลดการเกิดอุบัติเหตุหรือหากเกิดอุบัติเหตุจริงแล้วรถคู่กรณีมีการติดตั้ง GPS แล้วหลบหนีก็จะสามารถติดตามคนผิดมาดำเนินคดีได้ สามารถติดตามบทความต่างๆเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore