รู้ไว้! เป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์ ก็ทำประกันสังคมได้

สำหรับใครที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน หนึ่งในสวัสดิการที่ต้องได้รับกันทุกคนก็คือ “ประกันสังคม” โดยบริษัทจะหักออกจากเงินเดือนแล้วจ่ายเบี้ยให้ทุกเดือน(ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมมาตรา 33) แต่สำหรับใครที่ทำงานอิสระ เป็นฟรีแลนซ์ อาจจะสงสัยว่าตัวเองสามารถทำประกันสังคมได้หรือไม่ จะจ่ายเบี้ยอย่างไร และที่สำคัญจะได้สิทธิอะไรบ้าง

เราจะมาไขข้อสงสัยในบทความนี้กัน!

 

ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร ก็สามารถทำประกันสังคมได้ทุกคน

ประกันสังคมไม่ได้มีไว้เพื่อมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่คนที่เป็นนายตัวเองก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน(ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม มาตรา 40) โดยสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับ มีอยู่ 3 หมวดหลักๆ ได้แก่

  1. คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย, คลอดบุตร, พิการ, หรือเสียชีวิต
  2. คุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ
  3. คุ้มครองกรณีว่างงาน

ส่วนอัตราการจ่ายเบี้ยประกันนั้น ก็มีให้เลือก 3 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันไปดังนี้

 

 

แบบที่ 1:

ค่าเบี้ยประกันต่อเดือน: 100 บาท(จ่ายเอง 70 บาท รัฐช่วย 30 บาท)

สิทธิที่จะได้รับ: คุ้มครองทั้งกรณีเจ็บป่วย, ประสบภัย, พิการ และเสียชีวิต

กรณีเจ็บป่วยหรือประสบภัย:

  • จะได้รับเงินชดเชยวันละ 300 บาท กรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาล ถือเป็นการแทนรายได้ที่ต้องขาดไปในระหว่างพักรักษาตัว แต่ถ้าหากแค่พักฟื้นที่บ้าน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท สูงสุดถึง 1 เดือน และสุดท้าย…ถ้าหากจำเป็นต้องขาดงาน ก็จะได้วันละ 50 บาท สูงสุดเป็นเวลา 3 ครั้งต่อปี
  • สามารถใช้บัตรทอง 30 บาทมาเป็นสิทธิในค่ารักษาพยาบาลได้ด้วย

กรณีพิการและเสียชีวิต:

  • ได้รับเงินชดเชย เดือนละตั้งแต่ 500-1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
  • ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท และเงินสงเคราะห์อีก 3,000 บาท แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ครบ 5 ปีก่อนจะเสียชีวิต

 

แบบที่ 2:

ค่าเบี้ยประกันต่อเดือน: 150 บาท(จ่ายเอง 100 บาท รัฐช่วย 50 บาท)

สิทธิที่จะได้รับ: คุ้มครองทั้งกรณีเจ็บป่วย, ประสบภัย, พิการ, ชรา และเสียชีวิต

กรณีเจ็บป่วย, ประสบภัย, พิการ และเสียชีวิต:

  • ได้รับเงินชดเชย

กรณีชรา:

  • จะได้รับเงินบำเหน็จ และจะได้เงินก้อนมากขึ้นถ้าจ่ายสมทบเบี้ยประกันเพิ่ม(ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน)

 

 

แบบที่ 3:

ค่าเบี้ยประกันต่อเดือน: 450 บาท(จ่ายเอง 300 บาท รัฐช่วย 150 บาท)

สิทธิที่จะได้รับ: คุ้มครองกรณีประสบภัย, เจ็บป่วย, พิการ, ชรา, สงเคราะห์บุตร และเสียชีวิต

กรณีประสบภัยหรือเจ็บป่วย:

  • จะได้รับเงินชดเชยวันละ 300 บาท กรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาล ถือเป็นการแทนรายได้ที่ต้องขาดไปในระหว่างพักรักษาตัว แต่ถ้าหากแค่พักฟื้นที่บ้าน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท สูงสุดถึง 1 เดือน และสุดท้าย…ถ้าหากจำเป็นต้องขาดงาน ก็จะได้วันละ 50 บาท สูงสุดเป็นเวลา 3 ครั้งต่อปี
  • สามารถใช้บัตรทอง 30 บาทมาเป็นสิทธิในค่ารักษาพยาบาลได้ด้วย

กรณีพิการและเสียชีวิต:

  • ได้รับเงินชดเชย เดือนละตั้งแต่ 500-1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
  • ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท และเงินสงเคราะห์อีก 3,000 บาท แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ครบ 5 ปีก่อนจะเสียชีวิต

กรณีชรา:

  • ได้รับเงินบำเหน็จ และจะได้เพิ่มอีก 10,000 บาทถ้าจ่ายเบี้ยประกันครบ 15 ปี

กรณีสงเคราะห์บุตร:

  • จะได้รับ 200 บาทต่อบุตร 1 คน โดยจะได้ครั้งละไม่เกิน 2 คน และรับสิทธิได้ตั้งแต่ช่วงที่บุตรยังเป็นทารกจนถึง 6 ขวบ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม

Q: ประกันสังคมใช้สิทธิต่างโรงพยาบาลได้หรือไม่?
A: ปรกติแล้วเวลาทำประกันสังคม ผู้ประกันตนต้องเลือกว่าตัวเองต้องการใช้สิทธิที่โรงพยาบาลไหน และถึงเวลาที่ต้องการใช้สิทธิก็ต้องไปที่นั่น แต่จะมีกรณียกเว้นที่สามารถไปใช้สิทธิที่โรงพยาบาลอื่นได้ คือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน, คลอดบุตร และทำฟันนอกนั้นต้องไปใข้สิทธิที่โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น

Q: อยากเปลี่ยนโรงพยาบาลที่ใช้สิทธิต้องทำยังไง?
A: ต้องติดต่อสำนักงานประกันสังคม โดยจะเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

Q: สมมุติว่าป่วย หรือประสบอุบัติเหตุจนต้องเข้า/นอนโรงพยาบาล จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเลยสักบาท ประกันสังคมจะออกให้หมดเลยใช่หรือไม่?
A: ถ้าเป็นการเจ็บป่วยทั่วไป เข้ารับการรักษาได้ฟรีที่โรงพยาบาลที่รับรองสิทธิ ถ้าแต่เป็นการประสบอุบัติเหตุ สามารถไปได้ทุกโรงพยาบาล โดยให้ออกค่ารักษาไปก่อน แล้วไปขอเบิกเงินคืนทีหลังได้

Q: ขาดส่งเบี้ยประกันได้นานแค่ไหน?
A: 3 เดือนติดต่อกัน ถ้าเกินกว่านั้นจะถูกตัดสิทธิ

Q: อยากตรวจสุขภาพประจำปี ใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่?
A: ได้ โดยบริการที่จะได้รับคือ…

  • ตรวจคัดกรองการได้ยิน(ตรวจได้ในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป และตรวจได้ปีละครั้ง)
  • ตรวจเต้านม(ตรวจทุก 3 ปีสำหรับช่วงอายุ 30-39 ปี, ตรวจทุกปีสำหรับช่วงอายุ 40-54 ปี และตรวจตามความเสี่ยงสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจตา(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 40-54 ปี และตรวจทุก 1-2 ปีสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจวัดสายตา(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจเม็ดเลือด(ตรวจ 1 ครั้งสำหรับช่วงอายุ 18-54 ปี และตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 55-70 ปี)
  • ตรวจปัสสาวะ(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจน้ำตาลในเลือด(ตรวจทุก 3 ปีสำหรับช่วงอายุ 35-54 ปี และตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจไต(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจไขมันในเส้นเลือด(ตรวจทุก 5 ปีสำหรับช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจไวรัสตับอักเสบ(ตรวจได้ 1 ครั้ง)
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ Pap Smear(ตรวจทุก 3 ปีสำหรับช่วงอายุ 30-54 ปี และตรวจตามความเหมาะสมสำหรับช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบVIA(ตรวจทุก 5 ปีสำหรับช่วงอายุ 30-54 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจเลือดในอุจจาระ(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป)
  • เอ็กซ์เรย์ทรวงอก(ตรวจปีละครั้งสำหรับช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป)

สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore

GPS Tracking คือ