ที่วัดลมยาง

ที่วัดลมยาง หนึ่งในอุปกรณ์ที่เจ้าของรถควรพกไว้

การพกอะไหล่รถเอาไว้กับรถยนต์นั้นเป็นเรื่องที่เจ้าของรถทุกคนจะต้องใส่ใจเพราะการพกพาอะไหล่รวมถึงอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถยนต์ติดรถเอาไว้ทำให้เจ้าของรถสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกนั้นไม่ได้มีแค่ไขควง น้ำกลั่นหรือยางรถยนต์ เท่านั้น แต่ยังมี ที่วัดลมยาง ที่ควรพกติดเอาไว้กับรถอีกด้วยทำความรู้จักกับลมยาง

ไม่มีคนขับรถคนไหนที่ไม่รู้จักลมยาง แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังไม่รู้จักส่วนประกอบของรถ ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับลมยางกันดีกว่า ลมยาง คือ อากาศจากก๊าซที่เราใส่เข้าไปในยางรถเพื่อให้รถสามารถวิ่งไปได้

ถ้าลมยางไม่สมดุลจะเกิดอะไรขึ้น?

ตามหลักของการขับรถแล้วเมื่อไหร่ที่เราขับรถไปเรื่อยๆ แล้วในยางรถไม่มีลมมากพอก็จะทำให้รถสูญเสียความสมดุล ไม่สามารถทำให้คนขับรถทรงตัวตัวให้นิ่งได้ หากค่าลมยางของยางรถไม่นิ่งก็จะทำให้ยางรถยนต์เกิดความร้อน ซึ่งเป็นความร้อนจากธรรมชาติ ทำให้มีอากาศภายในยางเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ความดันลมยางเพิ่มขึ้นตามจนทำให้ลมยางลงน้อยลงไปเรื่อยๆ สำหรับยางรถที่มีลมยางมากเกินไปนั้นก็อาจเกิดผลเสียได้เพราะหากขับรถเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรหรือขับในระยะไกลก็อาจทำให้ยางระเบิดได้

รถแต่ละแบบต้องเติมลมยางเท่าไหร่?

รถยนต์แต่ละคันนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้ค่าลมยางที่ควรเติมเข้าไปนั้นแตกต่างกันด้วย ซึ่งการจะเติมลมเข้าไปในยางเท่าไหร่นั้นทางบรัทที่ผลิตรถยนต์จะเป็นผู้กำหนดเพื่อให้เจ้าของรถได้ทราบ แต่เราจะแบ่งประเภทรถทั้งหมด 2 ประเภทที่คุณรู้จักมาให้คุณได้รู้เพื่อที่จะสามารถทราบค่าลมยาง เพื่อจะได้เติมลงยางในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องดังต่อไปนี้

  1. รถครอบครัวหรือรถ 4 ประตู ควรเติมลมยางให้อยู่ในระดับ 28 – 30 psi
  2. รถกระบะ ควรเติมลมยางให้อยู่ในระดับ 30 – 40 psi

พกที่วัดลมยางเอาไว้ ดีกว่ายังไง?

  • ที่วัดลมยาง นั้นสามารถใช้ได้กับยางรถยนต์ที่ใช้เป็นประจำและยางสำรอง หากคุณต้องเจอกับสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยนยางรถยนต์กระทันหันแต่ไม่รู้ว่าค่าลมยางของแต่ละล้อนั้นมีค่าเท่าไหร่ คุณก็ยังสามารถใช้เครื่องวัดลมยางของแต่ล้อเพื่อเติมลงได้ถูก
  • คุณจะได้มีความพร้อมในการเช็คลมยางได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา ปกติแล้วเจ้าของรถจะต้องดูแลรถยนต์เป็นประจำซึ่งหนึ่งในการเช็คสภาพรถนั่นก็คือการวัดค่าลมยาง ซึ่งการมีเครื่องวัดลมยางติดรถเอาไว้ทำให้คุณไม่ต้องขับรถไปที่อู่เองให้ช่างตรวจค่าลมยางให้ ซึ่งการให้ช่างเช็คลมยางนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายด้วย
  • คุณสามารถใช้เครื่องวัดลมยางได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บางครั้งการขับรถไปตามสถานที่ต่างๆ ทำให้คุณไม่ทราบว่าจะต้องเจอกับสภาพถนนแบบไหนแล้วจะต้องเจอกับวัสดุกีดขวางที่จะเป็นอันตรายต่อยางรถยนต์แบบไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เศษเหล็ก เศษแก้วหรือวัสดุมีคมทั้งหลายสามารถทำให้ยารถยนต์ของคุณรั่วได้ ซึ่งหากคุณเจอกับสถานการณ์นี้ คุณสามารถใช้เครื่องวัดลมยางเพื่อหาค่าลมก่อนที่ได้วางแผนได้ถูกว่าจะสามารถขับรถได้อีกไกลแค่ไหน
  • การใช้เครื่องวัดลมยางทำให้คุณทราบค่าของลมได้แม่นยำมากกว่าการใช้เครื่องมือที่ปั๊มน้ำมันที่มีไว้ให้บริการแบบฟรีๆ คนขับรถหลายคนที่ขับรถด้วยตัวเองแล้วไม่ชอบพกอุปกรณ์เอาไว้ติดรถ มักจะใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีให้บริการตามปั๊มน้ำมัน แต่บางครั้งเครื่องวัดลมยางที่ปั๊มน้ำมันก็ไม่ได้ให้ค่าตัวเลขตามความจริง ฉะนั้นการพกเครื่องวัดลมยางส่วนตัวเอาไว้ติดรถย่อมดีกว่าอยู่แล้ว

เครื่องวัดลมยางมีประเภทไหนบ้าง?

  • Tire Pressure Monitoring System (TPMS) เป็นเครื่องวัดลมยางที่ถือว่าแพงใช้ได้เพราะราคาอยุ่ที่ 5,000 บาท แต่ด้วยราคาที่สูงนั้นก็มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหนือกว่า โดยเครื่องจะวัดลมยางรถยนต์ได้แบบ Real time แบบอัตโนมัติทั้ง 4 ล้อ บนหน้าจอดิจิทัลในรถยนต์ได้เลยโดยที่ไม่ต้องวัดลมยางเอง ซึ่งเหมาะกับคุณผู้หญิง คนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องรถหรือไม่ชอบดูแลรถแบบ Manual เองแต่ต้องขับรถเป็นประจำได้เลย
  • Tire Inflating Gun with tire chuck TG-10 SUMO เป็นเครื่องวัดลมยางที่ผลิตมาจากทองเหลืองและอลูมิเนียม โดยสามารถใช้วัดค่าลมยางกับยางรถยนต์ทุกประเภทตั้งแต่รถยนต์ 4 ล้อ ไปจนถึงรถ 10 ล้อ ซึ่งค่าลมยางที่วัดได้สูงสุดอยู่ที่ 120 psi แต่ราคาน่าคบหาเพราะอยู่ที่ 400 บาท เท่านั้น
  • Carmero 4 in 1 เป็นเครื่องวัดลมยางอีกหนึ่งยี่ห้อที่เหมาะกับคนสมัยใหม่แต่ราคาก็ไม่ได้แพงเพราะอยู่ที่ 400 บาท ซึ่งวัดค่าลมยางได้สูงที่สุด 150 psi โดยหน้าจอ LCD แสดงตัวเลขค่าลมยางเป็นแบบดิจิทัล แล้วยังมีไฟฉายค้อนติดเอาไว้ในการทุบกระจกแล้วยังมีมีดตัดสายเข็มขัดนิรภัยเอาไว้ให้คุณใช้ในยามฉุกเฉินอีกด้วย

การพก ที่วัดลมยาง ติดรถเอาไว้ดูเหมือนเป็นเรื่องยุ่งยากของใครหลายคน แต่การพกอุปกรณ์นี้ติดรถเอาไว้ถือว่าไม่เสียหายอะไรเลย เพราะเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กไม่เกะกะแต่มีประโยชน์ในยามฉุกเฉิน แล้วคุณล่ะ มีเครื่องวัดลมยางติดรถไว้แล้วหรือยัง? สามารถติดตามบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่..

More To Explore

จีพีเอส ไอแอม